Page 4 - praprang wat phrub
P. 4

4

                       ในกรณีที่เป็นพระปรางค์หรือเจดีย์ทรงปรางค์แบบของไทย หรือคติทางพุทธศาสนาก็จะมี

               คติหรือสัญลักษณ์ในบางส่วนของเจดีย์ในทางพุทธมาน แต่ถ้าเป็นพระปรางค์แบบของขอมก็จะมี

               คติสัญลักษณ์ในทางพราหมณ์ และบางเจดีย์ทรงปรางค์ เช่น พระปรางค์วัดอรุณราชวรารามฝั่ง

               ธนบุรี คติสัญลักษณ์ของทั้งสองศาสนาประสานกันอยู่

                       ตัวอย่างที่เรียกกันว่า ซุ้มจรน าในส่วนกลางของเจดีย์ที่เรียกกันว่าเรือนธาตุ หมายถึง
               โลก หรือเขาพระสุเมรุ อันเป็นศูนย์ กลางของจักรวาล นั่นจะปรากฏซุ้มส าหรับเทวดารักษา


               โลกที่เรียกกันว่า จาตุรชิกมหาราช เป็นต้น หรือบริเวณตัวเรือนยอดของพระปรางค์ ถ้าเป็นทาง
               พุทธศาสนาจะมีล าดับชั้นอยู่ 6  ชั้น ที่หมายถึงเทวโลก ทั้ง 6  ชั้น แต่ถ้าเป็นทางศาสนาพราหมณ์

               เรือนยอดก็จะมี 7 ชั้น อันหมายถึงเขาสัตตะบริภัณฑ์ 7 แนวเขาที่ล้อมรอบเขาพระ สุเมรุเท่านั้น

                       ข้อสังเกตในปลายยอดสุดของพระปรางค์วัดอรุณฯ ก็คือ มีนภศูล อันหมายถึงศูนย์กลาง

               ของจักรวาลเป็นที่อยู่ของพระอิศวรนั้น เหนือขึ้นไปกลับปรากฏมงกุฎ อันเป็นเครื่องหมายของ

               นิพพานอันแสดงถึงการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

                       อย่างไรก็ตาม อดีตอธิบดีกรมศิลปากรท่านหนึ่งได้ให้ค าแนะน าอย่างหนักแน่นว่า

                         “ พระปรางค์นั้นจะสร้างได้ก็เพราะการอุทิศให้แก่พระมหากษัตริย์เท่านั้น ”

                                                         ที่มา : คอลัมน์ คติ-สัญลักษณ์ ชวพงศ์ ช านิประศาสน์



               ลักษณะและรูปทรงของพระปรางค์

                       พระปรางค์ในประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากศิลปะสถาปัตยกรรมของขอมมานับแต่

               ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 โดยถูกจัดให้อยู่ในรูปแบบสมัยลพบุรี ( พุทธศตวรรษที่ 15-18  )

               ก่อนที่จะพัฒนารูปแบบสู่ศิลปะสถาปัตยกรรมยุคสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ในที่สุด ภายใต้

               รูปแบบลักษณะที่จ าแนกเป็น 4 แบบ คือ

                       1.  ทรงศิขร หมายถึงรูปทรงพระปรางค์ ที่เน้นแบบแผนรูปลักษณ์ตามต้นแบบเดิมทุก

               ประการ กล่าวคือสร้างขึ้นตามแบบแผนเดิมของขอม ที่เน้นคุณลักษณะของรูปทรงให้เป็นไปตาม

               อย่างคติ “จ าลองภูเขา” และ “สวรรค์ชั้นฟ้า” บนภาพความคิดของเขาพระสุเมรุ มีรูปทรงที่เน้น

               มวลอาคารให้ดูหนักแน่นมั่นคงเสมือนขุนเขา และให้รายละเอียดในเรื่องของล าดับขั้นของสวรรค์
               อันเป็นที่อยู่ของเหล่าเทวดาประจ าตามล าดับชั้น ทิศ และฐานานุศักดิ์อย่างชัดเจนที่สุด เช่น

               ปรางค์ทรงศิขร ปราสาทนครวัด ประเทศกัมพูชา ปราสาทหินพนมรุ้งบุรีรัมย์

                       2.  ทรงงาเนียม หมายถึง รูปทรงสถาปัตยกรรมของส่วนยอดพระพุทธปรางค์แบบหนึ่งที่มี

               ลักษณะคล้ายงาช้าง ซึ่งเรียกว่า “งาเนียม”  คือรูปทรงส่วนยอดจะมีลักษณะที่ใหญ่แต่สั้น ตอน

               ปลายจะมีลักษณะโค้งและค่อนข้างเรียวแหลม พระปรางค์ทรงงาเนียมนี้ถือเป็นประดิษฐานกรรม

               ของช่างไทยโดยแท้ เพราะเป็นสถาปัตยกรรมที่พัฒนารูปแบบเดิมจนมีลักษณะเฉพาะของตนเอง
   1   2   3   4   5   6   7   8   9