Page 8 - praprang wat phrub
P. 8
8
ประวัติความเป็นมาวัดพลับ
วัดพลับ เป็นวัดเก่าแก่และมีความส าคัญทางประวัติศาสตร์ เดิมชื่อ วัดสุวรรณติมรุธาราม
ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ต าบลบางกะจะ อ าเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี สร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
ราวปีพุทธศักราช 2300
จากต านานค าบอกเล่า กล่าวว่า วัดพลับแห่งนี้ สร้างโดยชาวจีนแต้จิ๋วเพราะในสมัยนั้นมี
ชาวจีนอาศัยอยู่หนาแน่น จนกลายเป็นชุมชนชาวจีนที่ใหญ่ที่สุดของทางภาคตะวันออก ได้นิมนต์
พระอาจารย์ทองจากวัดแห่งหนึ่ง ( ไม่ปรากฏชื่อ ) อยู่ใกล้วัดโบสถ์พลอยแหวน ร่วมกับพระธุดงค์
จากกรุงศรีอยุธยาช่วยกันสร้าง เดิมชื่อ วัดสุวรรณติมรุธาราม แปลว่า วัดพลับทอง เนื่องจากใกล้
วัดมีต้นพลับอยู่จ านวนมากชาวบ้านจึงพากันเรียก วัดพลับ บ้างก็เรียก วัดพลับบางกะจะ เพราะวัด
ตั้งอยู่ใกล้ตลาดเก่าบางกะจะ ต่อมาพระครูเขม์ ธัมทินโน ได้เปลี่ยนชื่อเรียกเป็น " วัดพลับ "
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2309 เป็นช่วงที่พม่าเข้าตีกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
มหาราชหรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กล่าวคือ เมื่อครั้งเป็นที่พระยาวชิรปราการ ได้พา
ทหาร 500 คน ตีฝ่าวงล้อมทหารพม่ามุ่งหน้าสู่ทิศตะวันออกของไทย ก่อนจะเสียกรุงศรีอยุธยา
ให้กับพม่าเป็นครั้งที่ 2 พระยาวชิรปราการ สู้รบฝันฝ่าพาสมัครพรรคพวกเคลื่อนทัพลงไปจนถึง
เมืองระยอง ณ ที่แห่งนี้ พระยาวชิรปราการได้สถาปนาตนเป็นพระเจ้าตากสินโดยการยอมรับจาก
ไพร่พลทั้งปวง ครั้นจะเคลื่อนทัพเข้าสู่เมืองจันทบูร ( จันทบุรี ) แต่ พระยาจันทบูรไม่ยอมอ่อน
น้อม กลับปิดประตูเมืองสั่งทหารป้องกันเชิงเทินอย่างเข้มแข็ง แต่ท้ายที่สุดก็แพ้กุศโลบายอันแยบ
คายของพระเจ้าตากสินโดยตรัสให้หลวงพิชัยอาสาเรียกประชุมแม่ทัพนายกองว่าคืนนี้จะต้องเข้าตี
เมืองจันทบูรให้จงได้และในเย็นวันนั้นเอง หลังจากเหล่าทหารและรี้พลกินอาหารเสร็จเรียบร้อย
แล้ว พระเจ้าตากสินได้สั่งแม่ทัพนายกองว่าเราจะตีเมืองจันท์ในค่ าวันนี้ เมื่อกองทัพหุงข้าวเย็นกิน
เสร็จแล้วทั้งนายและไพร่ให้เททิ้งอาหารที่เหลือและต่อย ( ทุบ ) หม้อเสียให้หมดหมายไปกินข้าว
เช้าด้วยกันที่ในเมืองเอาพรุ่งนี้ ถ้าตีเอาเมืองจันท์ไม่ได้ในค่ าวันนี้ก็จะได้ตายเสียด้วยกันให้หมด
ทีเดียวในที่สุดก็ตีเมืองจันทบูรได้ส าเร็จ และจากหลักฐานพบว่าก่อนกองทัพพระเจ้าตากสินจะเข้า
ตีเมืองจันทบูรได้มีการท าพิธีทางพระพุทธศาสนา ณ วัดพลับ ( วัดพลับ ต าบลบางกะจะ อ าเภอ
เมือง จังหวัดจันทบุรี ) สร้างพระยอดธงและประพรมน้ ามนต์ให้กับทหารทุกคนในกองทัพ เพื่อ
เป็นการสร้างขวัญก าลังใจทหารให้เกิดความฮึกเหิม กล้ารบเพื่อชาติมากขึ้นด้วยพุทธคุณท าให้คง
กระพันชาตรีแคล้วคลาดตลอดกาล นอกเหนือจากนี้แล้วยังให้พุทธคุณด้านโชคลาภ เมตตามหา
นิยมอีกด้วย จนทหารบุกเข้าตีเมืองจันท์ได้ส าเร็จ พระยอดธงที่เหลือได้น าเก็บไว้ในเจดีย์กลาง
ทราย ซึ่งปัจจุบันไม่เหลือให้เห็นแล้ว และได้ท าเป็นอนุสาวรีย์ขององค์พระเจ้าตากไว้แทน