Page 5 - praprang wat phrub
P. 5

5

               ส าเร็จใน สมัยอยุธยาตอนต้น มีคตินิยมการสร้างในลักษณะที่ทึบตัน หรือเหลือเพียงแค่ห้องคูหา

               เล็กๆ พอบรรจุพระพุทธรูปหรือสถูปจ าลองบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเท่านั้น ซึ่งคติทางไทย

               ออกแบบเป็นเชิงสัญลักษณ์เพียงอย่างเดียว จึงไม่ให้มีการใช้สอยภายในเพื่อการประกอบพิธีกรรม

               เหมือนอย่างปราสาทขอม ช่างไทยจึงมุ่งเน้นให้พระปรางค์ดูสูงเด่นเป็นสง่า ด้วยการเสริมฐานเป็น

               ชั้นให้ดูตระหง่านยิ่งขึ้น และปรับตัวเรือนธาตุและส่วนยอดให้บางและเพรียว ส่วนยอดนั้นลดการ
               ประดับตกแต่งที่ต้องการสื่อความหมายของที่อยู่แห่งเทวดา ทั้งปวงลง เพราะต้องการให้เน้นตรง


               เฉพาะความหมายแห่งพระพุทธองค์เป็นส าคัญ เช่น ปรางค์เหนือปราสาทพระเทพบิดร วัดพระศรี
               รัตศาสดาราม กรุงเทพฯ,พระปรางค์วัดพระศรีมหาธาตุเมืองเชลียง สุโขทัย

                       3. ทรงฝักข้าวโพด หมายถึงรูปทรงของพระปรางค์ลักษณะหนึ่งที่มีรูปร่างผอมบางและตรง

               ยาวคล้ายฝัก ข้าวโพด ส่วนยอดนั้นจะค่อยๆเรียวเล็กลงอย่างช้าๆก่อนรวบเป็นเส้นโค้งที่ปลาย

               พัฒนาการของรูปทรงพระปรางค์รูปแบบนี้ถือเป็นลักษณะเฉพาะตัวของพระปรางค์สมัย ต้น

               รัตนโกสินทร์ การใช้พระปรางค์ในฐานะอาคารประธานหลักของวัดเสื่อมความนิยมลงนับแต่สมัย

               อยุธยาตอนปลายแล้ว ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์จะหันมานิยมใช้อีกครั้ง แต่ส่วนใหญ่มักใช้เป็น

               อาคารรองอย่างปรางค์ทิศเท่านั้น การออกแบบงานสถาปัตยกรรมประเภทนี้จึงด้อยคุณลักษณะ

               อันมีพลังลง รูปทรงที่ดูผอมบางจนขาดก าลัง ส่วนของเรือนธาตุปิดทึบตันไม่มีการเจาะเป็นช่อง

               คูหาภายใน ส่วนยอดท าเป็นชั้นๆด้วยเส้นบัว กลีบขนุน และบัณแถลงไม่ท ารายละเอียดใดประดับ

               เช่น พระปรางค์ทิศทรงฝักข้าวโพด วัดเทพธิดาราม กรุงเทพฯ,พระปรางค์ทรงฝักข้าวโพด วัด

               มหาธาตุฯ กรุงเทพฯ

                       4.ทรงจอมแห หมายถึง รูปทรงของพระปรางค์ที่สร้างโครงรูปเส้นรอบนอก มีลักษณะแอ่น

               โค้งเหมือนอาการทิ้งน้ าหนักตัวของแหที่ถูกยกขึ้น รูปทรงเช่นนี้ความจริงถูกน ามาใช้กับการ

               ออกแบบพระเจดีย์สมัยต้นกรุง รัตนโกสินทร์มาก่อนแล้ว และต่อมาจึงพัฒนาน ามาใช้กับรูปทรง

               พระปรางค์บ้าง เช่น วัดอรุณราชวราราม ธนบุรี, พระปรางค์แบบไทย
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10