Page 34 - sutthida
P. 34
หน่วยกำรเรียนรู้ที่ 3
สหกรณ์กับการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย
ตัวชี้วัด ส 3.1 ม.4-6/2 ตระหนักถึงความส าคัญของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีผลต่อเศรษฐกิจ
สังคมประเทศ
ส 3.1 ม.4-6/3 ตระหนักถึงความส าคัญของสหกรณ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับชุมชน
และประเทศ
จุดประสงค์กำรเรียนรู้
1. วิเคราะห์สาระส าคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับต่าง ๆ ได้
2. วิเคราะห์ปัญหาการพัฒนาประเทศที่ผ่านมาได้
3. วิเคราะห์แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับปัจจุบันที่แสดงถึงเศรษฐกิจพอเพียงได้
สำระกำรเรียนรู้แกนกลำง
1. ปัญหาการพัฒนาประเทศที่ผ่านมา โดยการศึกษาวิเคราะห์แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ผ่านมา
2. การพัฒนาประเทศที่น าปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับ
ปัจจุบัน
กิจกรรมการเรียนรู้
(วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ : เทคนิคเล่าเรื่องรอบวง, เทคนิคคู่คิดสี่สหาย วิธีสอนแบบบรรยาย )
นักเรียนท าแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
ชั่วโมงที่ 1
1. ให้นักเรียนเล่าประสบการณ์ความรู้เดิมของนักเรียนที่เคยเรียนประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา
เป็นราชธานี ว่าสภาพเศรษฐกิจในสมัยนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร ซึ่งนักเรียนสามารถตอบได้หลากหลาย เช่น
- อาชีพส่วนใหญ่ของประชากรคือการเพาะปลูกพืชเพื่อการด ารงชีวิต
- ผลิตสิ่งของต่าง ๆ ประเภทหัตถกรรมที่จ าเป็นต่อการด ารงชีพ
- ส่งสินค้าที่ผลิตเหลือใช้ไปขายยังต่างประเทศ
- การค้าขายกับต่างประเทศมีความเจริญรุ่งเรืองในสมัยอยุธยามากกว่าสมัยสุโขทัย
ฯลฯ
2. ครูอธิบายเชื่อมโยงความรู้ให้นักเรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยก่อนการใช้แผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2398-2504 เปรียบเทียบกับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยตามแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในภาพรวม
3. ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน คละกันตามความสามารถ คือ เก่ง ปานกลาง (ค่อนข้างเก่ง) ปาน
กลาง (ค่อนข้างอ่อน) และอ่อน
4. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาความรู้เรื่อง โครงสร้างเศรษฐกิจไทย จากหนังสือเรียน และร่วมกันอภิปราย
ถึงประเด็นส าคัญของเรื่องที่ศึกษาจนมีความเข้าใจกระจ่างชัดเจน