Page 20 - E-book Final
P. 20
หลักและวิธีการรายงานการรับส่งเวรด้วยเทคนิค SBAR
R: Recommendation คือ เน้นการเลือกแก้ปัญหาพร้อมคําแนะนํา
เป็นข้อแนะนํา หรือความต้องการของพยาบาลที่เป็นผลเนื่องจากพยาบาล
ได้ประเมินสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยแล้วส่งเวรต่อกันในทีม
ในเรื่องที่ต้องการจะให้ปฏิบัติการพยาบาลในเรื่องใด เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับ
การดูแลอย่างต่อเนื่อง รายการติดตามผล Lab X-ray และอื่นๆ
การนําโมเดล SBAR มาใช้ในการรับส่งเวร (อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล,
2551 อ้างถึงใน เดชชัย โพธิ์กลิ่น, 2559) ประกอบด้วย
S: Situation พยาบาลผู้ทําการส่งเวรต้องระบุปัญหา/อาการที่
ผิดปกติของผู้ป่วยที่พบในเวร/หรือเวรก่อนหน้านั้น
B: Background พยาบาลผู้ทําการส่งเวรต้องระบุสาระสําคัญ
เกี่ยวกับอาการและอาการแสดง การวินิจฉัยโรค แผนการรักษาของแพทย์
ตามสาเหตุของปัญหา อาการที่ผิดปกติของผู้ป่วย ในกรณีที่เป็นผู้ป่วยรับ
ใหม่หรือรับย้ายทุกราย ภายใน 24 ชั่วโมงแรกต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับ
ประวัติและสาเหตุของความเจ็บป่วยด้วย
A: Assessment พยาบาลผู้ทําการส่งเวรต้องระบุสาระสําคัญในการ
ประเมินผู้ป่วย และให้การช่วยเหลือตามกระบวนการพยาบาล รวมถึง
กิจกรรมที่ได้ทําไปแล้วในเวรนั้น
R: Recommendation พยาบาลผู้ทําการส่งเวรต้องระบุ
สาระสําคัญ เกี่ยวกับการให้ข้อแนะนําหรือความต้องการของพยาบาล ที่
เป็นผลมาจากการประเมินการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยแล้วส่งเวรต่อกันใน
ทีมจะให้ปฏิบัติการพยาบาลในเรื่องใด เพื่อส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่
ต่อเนื่อง
17