Page 124 - หนังสืออนุทิน พระศรีธวัชเมธี (ชนะ ป.ธ. ๙) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร สุพรรณบุรี, ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา.
P. 124

ท่านเจ้าคุณพระราชปริยัติมุนี (เทียบ ป.ธ.๙) วัดพระเชตุพน

                ถวายหนังสือมาเล่มหนึ่ง ที่จริงท่านมีเล่มเดียว ข้าพเจ้าไปแค่นจึงได้มา
                ชื่อหนังสือ ๑๕๐ ปี วัดมกุฏกษัตริยาราม ซึ่งเป็นวัดที่สร้างเสร็จในปี

                พ.ศ.๒๔๑๑ ดังข้อความที่ว่า “ครั้นถึง พ.ศ.๒๔๑๐ พระบาทสมเด็จ
                พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเสด็จพระราชด�าเนินทรงวางศิลาฤกษ์ และ

                ทรงเร่งรัดการก่อสร้างเสนาสนะให้เสร็จก่อนเข้าพรรษา ใน พ.ศ. ๒๔๑๑”
                       ค�าสรุปมีว่า “ด้วยเหตุนี้ในปี พ.ศ.๒๕๖๑ วัดมกุฏกษัตริยาราม

                จึงมีอายุครบ ๑๕๐ ปี”
                       เปิดพลิกดูประวัติวัด ในยุคพระศาสนโศภน (แจ่ม จตฺตสลฺโล)

                (๑๘ พ.ค.๒๔๑๘ - ๒๕ พ.ย.๒๔๘๘ อายุ ๗๐ ปี ๕ เดือน ๗ วัน)
                เจ้าอาวาสรูปที่ ๔ ระหว่าง พ.ศ.๒๔๖๒-๒๔๘๘, บุตรของนายพ่วง

                มหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับนางเอี่ยม
                บ้านเดิมอยู่ที่บ้านต�าหนัก อ.เมือง จ.เพชรบุรี

                       เปิดดูแค่ในหน้าที่ ๑๕๓ พบข้อความที่น่าสนใจที่เกี่ยวพันกับ
                จังหวัดสุพรรณบุรี

                       ข้อความนั้นว่า “แม้บ้านเดิมของพระศาสนโศภน (แจ่ม จตฺตสลฺโล)
                จะอยู่ที่เพชรบุรี แต่บรรพชนเป็นชาวสุพรรณบุรี ดังที่ท่านได้เล่าว่า

                บิดาของท่านเป็นชาวสุพรรณบุรี ปู่ชื่อขาว เป็นน้องชายปู่ของเจ้าพระยา

                ยมราช (ปั้น สุขุม) มีทวดเดียวกัน เป็นตระกูลกรมการเมืองสืบกันมา”
                       และว่า “เดิมพระศาสนโศภน (แจ่ม จตฺตสลฺโล) มีนามเดิม
                ตามล�าดับหลายชื่อ คือ ตอนแรกเรียกกันว่า “จ่า” เพราะชอบเล่น

                เป็นจ่าเพื่อน จ่าฝูง ต่อมาได้ชื่อว่า “แปลก” เพราะชอบท�าอะไรแปลก

                และเมื่อบวชเป็นสามเณร ได้ชื่อว่า “แจ่ม”






          122 อนุทินประจ�ำวัน
   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129