Page 57 - Pathum Wan1
P. 57

55





                       เรื่องที่ 2  วิธีการศึกษาทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับท้าวมหาพรหมบรมเทพเขตปทุมวัน
                       กกกกกกก1.  การก าหนดประเด็นในการศึกษา
                                  การก าหนดประเด็นในการศึกษา เป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวในอดีต

                       ซึ่งจะเป็นแนวทางที่น าไปสู่ การสืบค้นข้อมูลจากหลักฐานประเภทต่าง  ๆ ประเด็นศึกษาอาจมาจาก
                       ความต้องการอยากรู้ อยากเห็นเรื่องราวที่เกี่ยวของกับตนเอง  และครอบครัวหรือเกิดจากปัญหาที่พบ
                       เห็นในชุมชนหรือท้องถิ่นของตนเอง รวมทั้งอาจมาจากความสงสัยในข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นจริงเช่นนั้น
                       หรือไม่ ความอยากรู้ อยากเห็น ปัญหา และความสงสั ย จะท าให้เกิดประเด็นค าถาม ใคร ท าอะไร ที่

                       ไหน เมื่อไร ท าไม และอย่างไร ซึ่งจะน าไปสู่ วิธีการสืบค้น และแหล่งข้อมูลหลักฐาน
                       กกกกกกก2.  สืบค้น และรวบรวมข้อมูล
                                  สืบค้น และรวบรวมข้อมูล เป็นการสืบค้นข้อมูลจากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อให้เข้าถึง
                       ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับประเด็นศึกษาที่เราต้องการสืบค้น วิธีการสืบค้นข้อมูลท าได้หลายวิธี เช่น

                       การสอบถาม การสัมภาษณ์ การศึกษาวิเคราะห์เอกสารหรือหนังสือ การไปชมสถานที่จริง การฟังค า
                       บรรยายจากผู้ทรงคุณวุฒิ การวิเคราะห์จากรูปภาพ แผนที่ กราฟ สถิติ แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ
                       ประเด็นศึกษา ได้แก่

                                  2.1  บุคคลที่เป็นผู้รู้เรื่องราวนั้น ๆ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเป็นผู้ มีความเกี่ยวข้องโดยตรง
                       เช่น เป็นญาติพี่น้อง เป็นผู้มีส่วนร่วมรู้เห็นกับเหตุการณ์ หรือเป็นผู้ศึกษาค้นคว้าเรื่องราว
                       นั้น ๆ เช่น นักโบราณคดี นักจดหมายเหตุ นักภาษาศาสตร์
                                  2.2  สถานที่ส าคัญ และแหล่งข้อมูลในท้องถิ่น เช่น วัด มัสยิด โบสถ์คริสต์
                                  2.3  ห้องสมุด และแหล่งรวบรวมเอกสารทางประวัติศาสตร์ เช่น ห้องสมุดประชาชน

                       หอสมุดแห่งชาติ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
                       กกกกกกก3.  การวิเคราะห์และตีความข้อมูลทางประวัติศาสตร์
                                  เมื่อผู้ศึกษาได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประเด็นศึกษาแล้ว ผู้ศึกษาต้องไต่สวน

                       หลักฐานแต่ละชิ้น เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับมากที่สุด ด้วยการประเมิน
                       ภายนอกและประเมินภายใน
                                  การประเมินภายนอก หมายถึง การประเมินผู้บันทึกหลักฐาน และตัวหลักฐาน
                       เนื่องจากหลักฐานมีหลายประเภท  และหลายลักษณะ เช่น หลักฐานชั้นต้น  หรือหลักฐานปฐมภูมิ ซึ่ง

                       เป็นหลักฐานที่เกิดขึ้นร่วมสมัยกับเหตุการณ์นั้น  หรือเกิดจากบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์
                       นั้น ๆ และหลักฐานชั้นรองหรือหลักฐานทุติยภูมิ ซึ่งเป็นหลักฐานที่เกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์หรือจาก
                       ผู้ที่ไม่มีส่วนร่วมกับเหตุการณ์  แต่ได้ศึกษาค้นคว้ารวบรวมขึ้นในภายหลัง  นอกจากนี้ยังมีหลักฐาน
                       โบราณคดี เช่น โครงกระดูก  เครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์โบราณ ศิลาจารึก วรรณกรรมโบราณ ซึ่ง

                       จ าเป็นต้องอาศัยผู้ เชียวชาญ  เฉพาะด้าน เช่น นักโบราณคดี นักภาษาศาสตร์ เป็นผู้ วิเคราะห์และ
                       ประเมินหลักฐานดังกล่าว
                                  การประเมินภายใน หมายถึง การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ปรากฏในหลักฐาน
                       กับข้อมูล จากหลักฐานร่วมสมัยอื่น  ๆ ว่าสอดคล้องกันหรือแตกต่างกันหรือไม่  ถ้าพบความแตกต่าง

                       ต้องสืบค้นว่าเป็นเพราะสาเหตุใด ทั้งนี้อาจเกิดจากความผิดพลาดในระบบการพิมพ์ หรือเกิดจากอคติ
                       ของผู้จัดท าหลักฐาน หรือความไม่รู้ข้อมูลที่แท้จริง
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62