Page 35 - งานนำเสนอ PowerPoint
P. 35

ซึ่งผมอยู่ในกลุ่มสุดท้าย  เพราะ  ณ  เวลานั้นแม่คลอดลูกคนที่  ๗  ในขณะที่

            ฐานะครอบครัวแทบจะมีสภาพหาเช้ากินค่ า แม่บอกว่าไม่ไหวแล้วลูกๆเรียนแค่ชั้น ป.๔ ก็แล้ว

            กัน  ครูยุพา  ถือสมุด  Friend  Ship  เล่มนี้ตรงดิ่งไปหาครูใหญ่  แล้วกลับมาพร้อมค าสั่งให้
            ผู้ปกครองเด็กชายวิเชียร มาพบ รุ่งขึ้นแม่อุ้มน้องที่ยังแบเบาะมาพบครูใหญ่  เรียนให้ทราบถึง

            ความจ าเป็นที่ลูกชายคนที่  ๒  จะไม่ได้เรียนต่อ  ครูใหญ่บอกให้คิดทบทวนให้ดี  และยังมี

            หนทางที่อาจจะแบ่งเบาภาระให้ครอบครัวได้  คือให้ลองสอบชิงทุนรัฐบาลดู  ซึ่งแม่ก็ได้แต่
            รับปากว่าจะพยายาม

                           การสอบปลายภาคปีนั้น เด็กชายวิเชียร ถิ่นวัฒนากูล สอบได้ล าดับที่ ๑ ของ

            ชั้น ป.๔ ได้รับรางวัลเป็นหนังสือเรียนชั้น ป.๕ และในระหว่างปิดเทอมใหญ่ทางโรงเรียนเปิด
            สอนพิเศษให้กับนักเรียนที่จะสอบชิงทุนรัฐบาลซึ่งเป็นทุนส าหรับนักเรียนชั้น  ป.๕  –  ม.ศ.๓

            เป็นเงินปีละ ๖๐๐ บาท แบ่งรับเป็น ๒ งวดๆละ ๓๐๐ บาท ทั้งอ าเภอมีเพียงปีละ ๑ ทุน ซึ่ง

            ผมและเพื่อนๆอีกหลายคนก็สมัครสอบชิงทุนนี้    หลังจากสอบเสร็จก็รอฟังผลสอบ    สมัยนั้น

            ในตลาดท่าม่วงจะมีประกาศเสียงตามสายในเวลาเช้าและค่ า           เช้าวันนั้นเสียงประกาศชื่อ
            นักเรียนที่สอบชิงทุนรัฐบาลได้ดังแว่วไปถึงบ้านหน้าสถานีรถไปทุ่งทองแต่ฟังไม่ชัดนัก

            จนกระทั่งน้าชายที่บ้านอยู่ใกล้ตลาดมากกว่าวิ่งมาบอกว่าเสียงประกาศชื่อ     เด็กชายวิเชียร

            ถิ่นวัฒนากูล       สอบชิงทุนรัฐบาลได้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เป็นจุดเปลี่ยนที่ครอบครัวชาวไร่
            ยากจนครอบครัวหนึ่งได้ตัดสินใจอย่างมุ่งมั่นที่จะกัดฟันส่งเสียให้ลูกๆทั้ง  ๗  คน  อย่างสุด

            ความสามารถ เด็กลูกชาวไร่ที่ก าลังจะจบชีวิตนักเรียนเป็นเด็กชาวไร่จึงได้กลับมาเกิดใหม่  ซึ่ง

            ในความทรงจ านั้นผมจ านักเรียนทุนรัฐบาลนี้ได้เหนือขึ้นไป ๑ รุ่น (ศล.๑๒) คือพี่ องอาจ รังสี

            กาญจน์ส่อง และน้อง ศล.๑๔ คือน้องวิไล เหลืองตระกูล ซึ่งทั้ง ๓ รุ่นติดต่อกัน (หรือมากกว่า
            นั้น) ล้วนเป็นลูก ศล. ทั้ง ๓ คน

                           ครูยุพา ไชยวงศ์เกียรติ และครูประสงค์ มาโนช  จึงเป็นเจ้าหนี้ชีวิตของลูก

            ชาวไร่คนนี้  เป็นหนี้ติดตัวจากวันนั้นจนวันตาย  เป็นหนี้ที่ผมชดใช้ด้วยความเคารพเทิดทูนครู
            อาจารย์  ทุกท่านที่ผ่านมาในชีวิต  เป็นหนี้ผมชดใช้ด้วยส านึกที่จะต้องตอบแทนต่อโรงเรียน

            สังคม และประเทศชาติ โรงเรียนทุกโรงเรียนที่ผมได้ร่ าเรียนมา เป็นสถานที่ที่ผมจะยกมือขึ้น

            ไหว้ทุกครั้งที่ผ่านพร้อมกับน้อมร าลึกถึงคุณครูทุกท่านจินตนาการว่าได้ก้มลงกราบที่เท้าของ
            คุณครูทุกท่านไล่ตั้งแต่ชั้นเด็กเล็กเป็นต้นมา

                           และทุกครั้งที่สวดบท สุปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ สังฆังนมามิ ก็นึกภาพ

            ก้มกราบอยู่ที่ฝ่าเท้าหลวงพ่อนาถ ผู้สร้างบ้าน ศล. ที่เป็นบ้านเกิดแสนรักแห่งนี้










                                                        ชมรมศิษย์เก่า ครู ผู้ปกครอง โรงเรียนวัดศรีโลหะราษฎร์บ ารุง  33
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40