Page 59 - ทร02006
P. 59
50
ตอนที่ 5.3 การประเมินโครงงานและการพัฒนาโครงงานจากข้อบกพร่องต่างๆ
การประเมินโครงงาน
การประเมินโครงงาน เป็นกิจกรรมที่มีความสําคัญและจําเป็นอีกอย่างหนึ่ง ในการทําโครงงานของ
ผู้เรียน เป็นการให้คะแนนโครงงานที่ผู้เรียนทํา เพื่อประเมินว่าโครงงานที่ทํานั้นมีคุณภาพในด้านต่างๆ มากน้อย
เพียงใด เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นในโอกาสต่อไป ในการประเมินโครงงานแต่ละโครงงานนั้น ผู้ประเมินต้องคิด
พิจารณาและวิเคราะห์โครงงานอย่างละเอียด รอบคอบ ครอบคลุมทุกๆ ด้านก่อนให้คะแนน
การประเมินโครงงาน ควรให้ความสําคัญ 3 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 ส่วนประกอบของรายงานโครงงานครบถ้วน ได้แก่ ปกหน้า (ชื่อโครงงาน/ชื่อผู้ทํา/ชื่อ
อาจารย์ที่ปรึกษา/สถานศึกษา) บทคัดย่อ/กิตติกรรมประกาศ ที่มาและความสําคัญ วัตถุประสงค์สมมติฐาน /
ตัวแปรของการศึกษา เอกสาร/ความรู้หรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง วัสดุและอุปกรณ์และวิธีดําเนินการ (อธิบายโดย
ละเอียด) ผลการศึกษาค้นคว้า สรุปผล อภิปรายผล ข้อเสนอแนะและบรรณานุกรม
ส่วนที่ 2 ความคิดสร้างสรรค์ พิจารณาจากความแปลกใหม่ ความคิดริเริ่ม ประโยชน์การนําไปใช้ใน
ชีวิตประจําวัน และความน่าสนใจ
ส่วนที่ 3 ความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ พิจารณาจากปัญหา (ที่มา ความสําคัญ
วัตถุประสงค์) สมมติฐาน (สอดคล้องกับปัญหา/ชัดเจน) การตรวจสอบสมมติฐาน การแปลผล อภิปรายและ
เสนอแนะความสามารถในการสื่อความหมาย พิจารณาจากการจัดทํานิทรรศการโครงงานและการนําเสนอ
โครงงาน
การพัฒนาโครงงานจากข้อบกพร่องต่างๆ
ในยุคของการปฏิรูปการเรียนรู้โดยครูได้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการสอน จากการสอนแบบบรรยาย
มาเป็นการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ เช่น การสอนด้วยวิธีโครงงานซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวดที่ 4 มาตรา 24 (5) ……ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้สอนจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม
สื่อการเรียนและอํานวยความสะดวก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งสามารถที่จะเรียน ใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่ง
ของกระบวนการเรียนรู้
จากการตัดสินการประกวดโครงงานพบว่า มีปัญหาที่รอการแก้ไขในการทําโครงงาน และการเขียน
รายงานโครงงานโดยสรุปมีดังต่อไปนี้
1. การเขียนบทคัดย่อ เขียนไม่ครอบคลุมสิ่งนําเสนอ ควรประกอบด้วยวัตถุประสงค์ วิธีเก็บข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล มักพบว่านําความเป็นมาของการทําโครงงานเข้ามาเขียนและ
พบว่าเขียนไม่กระชับไม่ชัดเจน
2. ความสําคัญของโครงงานเขียนไม่ชัดเจน ควรเขียนความเป็นมาของโครงงานและโครงงานนี้สําคัญ
อย่างไร ทําแล้วได้อะไรเป็นต้น
3. ชื่อเรื่องเป็นแบบเรียกร้องความสนใจแต่ผู้ศึกษาไม่เข้าใจปัญหา วัตถุประสงค์ของการศึกษาอย่าง
ชัดเจน โปรดจําไว้ว่าปัญหาและวัตถุประสงค์ที่ศึกษาเป็นเรื่องเดียวกัน เพียงแต่ปัญหาเป็นประโยคคําถาม ส่วน
วัตถุประสงค์เป็นประโยคบอกเล่า