Page 58 - วิชาทักษะการเรียนรู้ประถมศึกษา
P. 58

48

                                           ตัวอย่างของกระบวนการจัดการความรู้



                                             “วิสาหกิจชุมชน” บ้านทุ่งรวงทอง
                  1.  การบ่งชี้ความรู้

                           หมู่บ้านทุ่งรวงทองเป็นหมู่บ้านหนึ่งที่อยู่ในอ าเภอจุน จังหวัดพะเยา จากการที่หน่วยงานต่างๆ

                  ได้ไปส่งเสริมให้เกิดกลุ่มต่าง ๆ  ขึ้นในชุมชน  และเห็นความส าคัญของการรวมตัวกันเพื่อเกื้อกูลคนใน
                  ชุมชนให้มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน จึงมีเป้ าหมายจะพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นวิสาหกิจชุมชน จึงต้องมี

                  การบ่งชี้ความรู้ที่จ าเป็นที่จะพัฒนาหมู่บ้านให้เป็น วิสาหกิจชุมชน นั่นคือ หาข้อมูลชุมชนในประเทศไทย

                  มีลักษณะเป็นวิสาหกิจชุมชน  และเมื่อศึกษาข้อมูลแล้วท าให้รู้ว่าความรู้เรื่องวิสาหกิจชุมชนอยู่ที่ไหน

                  นั่นคือ อยู่ที่เจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการที่มาส่งเสริม  และอยู่ในชุมชนที่มีการท าวิสาหกิจชุมชนแล้ว
                  ประสบผลส าเร็จ

                  2.   การสร้างและแสวงหาความรู้

                           จากการศึกษาหาข้อมูลแล้วว่า  หมู่บ้านที่ท าเรื่องวิสาหกิจชุมชนประสบผลส าเร็จอยู่ที่ไหน
                  ได้ประสานหน่วยงานราชการ  และจัดท าเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเตรียมการในการไปศึกษาดูงาน

                  เมื่อไปศึกษาดูงานได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ท าให้ได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้น เข้าใจรูปแบบ กระบวนการของ

                  การท าวิสาหกิจชุมชน และแยกกันเรียนรู้เฉพาะกลุ่มเพื่อน าความรู้ ที่ได้รับมาปรับใช้ในการท าวิสาหกิจ
                  ชุมชนในหมู่บ้านของตนเอง  เมื่อกลับมาแล้ว  มีการท าเวทีหลายครั้ง  ทั้งเวทีใหญ่ที่คนทั้งหมู่บ้านและ

                  หน่วยงานหลายหน่วยงานมาให้ค าปรึกษา ชุมชนร่วมกันคิด วางแผน และตัดสินใจ รวมทั้งเวทีย่อยเฉพาะ

                  กลุ่มจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผ่านเวทีชาวบ้านหลายครั้ง ท าให้ชุมชนเกิดการพัฒนาในหลายด้าน เช่น

                  ความสัมพันธ์ของคนในชุมชน การมีส่วนร่วมทั้งร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมด าเนินการ ร่วมประเมินผล
                  และร่วมรับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในชุมชน

                  3.  การจัดความรู้ให้เป็นระเบียบ

                           การท าหมู่บ้านให้เป็นวิสาหกิจชุมชน  เป็นความรู้ใหม่ของคนในชุมชน  ชาวบ้านได้เรียนรู้ไป

                  พร้อม ๆ  กัน  มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ  โดยมีส่วนราชการและ
                  องค์กรเอกชนต่าง ๆ  ร่วมกันหนุนเสริมการท างานอย่างบูรณาการ  และจากการถอดบทเรียนหลายครั้ง

                  ชาวบ้านมีความรู้เพิ่มมากขึ้นและบันทึกความรู้อย่างเป็นระบบนั่นคือ  มีความรู้เฉพาะกลุ่มส่วนใหญ่

                  จะบันทึกในรูปเอกสาร และมีการท าวิจัยจากบุคคลภายนอก
                  4.  การประมวลและกลั่นกรองความรู้

                           มีการจัดท าข้อมูล ซึ่งมาจากการถอดบทเรียน และการจัดท าเป็นเอกสารเผยแพร่เฉพาะกลุ่มเป็น

                  แหล่งเรียนรู้ให้กับนักศึกษา กศน. และนักเรียนในระบบโรงเรียน รวมทั้งมีการน าข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อ
                  จัดท าเป็นหลักสูตรท้องถิ่นของ กศน. อ าเภอจุนด้วย
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63