Page 20 - Microsoft Word - บทที่ 2.doc
P. 20

-22-
จัดเปนกฎหมายวิธีสบัญญัติ แตกฎหมายบางฉบับก็มีทั้งสวนที่เปนกฎหมายสารบัญญัติและ กฎหมายวิธีสบัญญัติปะปนกันอยู เชน พระราชบัญญัติลมละลาย ซึ่งมีทั้งหลักเกณฑ องคประกอบของกฎหมายและสภาพบังคับ แตในขณะเดียวกันก็มีบทบัญญัติกลาวถึง วิธีการดําเนินคดีลมละลายอยูดวย จึงทําใหเปนกฎหมายที่เปนทั้งสารบัญญัติและวิธีส บัญญัติ
2. การแบงแยกประเภทของกฎหมายตามบทบัญญัติ หรือเนื้อหาของกฎหมาย
การแบงแยกประเภทของกฎหมายตามบทบัญญัติหรือเนื้อหาของกฎหมาย นั้น ในระบบกฎหมายบางประเทศมีการแบงประเภทหรือสาขาของกฎหมายออกเปน 2 ประเภท คือ กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน ทั้งนี้ โดยอาจจะมีวัตถุประสงคที่ แตกตางกัน เชน เพื่อประโยชนหรือความสะดวกในการเรียนการสอน เพื่อประโยชน ในทางปฏิบัติ หรือเพื่อประโยชนในการแบงเขตอํานาจศาล (ในกรณีที่ประเทศนั้นมีศาล หลายระบบศาล ซึ่งแบงเขตอํานาจกันตามประเภทหรือสาขาของกฎหมาย) แตในระบบ กฎหมายบางระบบหรือในบางประเทศก็ไมมี หรือไมยอมรับการแบงประเภทหรือสาขา ของกฎหมาย ดังกลาว
ในความเปนจริงแลว ความหมายหรือความแตกตางระหวางกฎหมายเอกชน และกฎหมายมหาชนนั้น เปนสิ่งที่ยากจะจํากัด หรือชี้ใหเห็นชัดลงไปได นอกจากนี้ใน ระบบกฎหมาย หรือประเทศที่มีการแบงประเภทกฎหมายดังกลาว ก็ยังมีการใหความหมาย ของกฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชนที่แตกตางกันออกไปตามยุคสมัย หรือตาม ความเห็นของนักกฎหมายแตละยุค แตละสมัยเชน
อัลเปยน (ULPIAN) ซึ่งเปนนักกฎหมายคนสําคัญในยุคโรมัน ไดให ความหมายของกฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชนเอาไววา “กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่เกี่ยวกับรัฐโรมัน ในขณะที่กฎหมายเอกชนเกี่ยวของกับผลประโยชนของเอกชน แตละคน”
มอริซ ดูแวรเช (MAURICE DUVERGER) แหงมหาวิทยาลัยปารีส ได อธิบายไววา กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่กลาวถึงกฎเกณฑทั้งหลายที่เกี่ยวกับสถานะ และอํานาจของผูปกครอง รวมทั้งความสัมพันธระหวางผูปกครองกับผูอยูใตการปกครอง สวนกฎหมายเอกชน คือ กฎหมายที่กลาวถึงกฎเกณฑทั้งหลายที่เกี่ยวกับความสัมพันธทาง กฎหมายระหวางผูอยูใตปกครองดวยกันเอง




























































































   18   19   20   21   22