Page 28 - Microsoft Word - บทที่ 2.doc
P. 28

-30-
อาญาจึงเกิดโดยตรงจากตัวบทเทานั้น และการตีความบทบัญญัติทั้งหลายนั้น จะตอง ตีความโดยเครงครัด กลาวคือ การกระทําที่ถูกกลาวหาเปนความผิดนั้น จะตองอยูใน ความหมายตามปกติธรรมดาของถอยคําทั้งหลายที่ใชในกฎหมายนั้น จะขยายความคํา เหลานั้นออกไปไมได
4. การอุดชองวางแหงกฎหมาย ในกรณีที่ประมวลกฎหมายอาญา หรือ พระราชบัญญัติอื่นที่บัญญัติความผิดและโทษไมมีบัญญัติไว ซึ่งเรียกวาชองวางแหง กฎหมายนั้น ศาลจะอุดชองวางแหงกฎหมายใหเปนผลรายแกผูตองหาหรือจําเลยไมได แต ศาลอาจอุดชองวางแหงกฎหมายเพื่อใหเปนผลดีแกผูตองหาหรือจําเลยได
ความแตกตางระหวางความผิดทางอาญาและความผิดทางแพง
เนื่องจากกฎหมายอาญามีความประสงคที่จะคุมครองความปลอดภัยของ ชุมชน แตกฎหมายแพงมีความประสงคที่จะคุมครองสิทธิของเอกชน จึงมีขอแตกตางที่ สําคัญ ดังนี้
1. ความผิดทางอาญาเปนการกระทําที่กอใหเกิดผลเสียหาย หรือเกิดความ หวาดหวั่นแกบุคคลทั่วไป ความผิดทางอาญาสวนใหญจึงถือวาเปนความผิดตอแผนดิน หรือประชาชนทั่วไป
สวนความผิดทางแพงเปนเรื่องระหวางเอกชนตอเอกชนดวยกัน ไมมี ผลเสียหายตอสังคมแตอยางใด
2. กฎหมายอาญานั้น มีวัตถุประสงคที่จะลงโทษผูกระทําความผิด ฉะนั้น หากผูทําผิดตายลง การสืบสวนสอบสวน การฟองรอง หรือการลงโทษก็เปนอันระงับไป
สวนความผิดทางแพง เปนเรื่องการชดใชคาสินไหมทดแทนความ เสียหายซึ่งเปนเรื่องเกี่ยวกับทรัพยสินของบุคคล ดังนั้น เมื่อผูกระทําผิดหรือผูละเมิดตายลง ผูเสียหายยอมฟองรองเรียกคาเสียหายตางๆ จากกองมรดกของผูกระทําผิดหรือผูละเมิดได เวนแตจะเปนหน้ีเฉพาะตัว เชน แดงจางดําวาดรูป ตอมาดําตายลง ถือวาหน้ีระงับลง
3. ความรับผิดทางอาญาถือเจตนาเปนใหญในการกําหนดโทษ เนื่องจาก การกระทําผิดดังที่ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 บัญญัติวา “บุคคลจะตองรับผิดทาง อาญาก็ตอเมื่อไดกระทําโดยเจตนา เวนแตจะไดกระทําโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมาย บัญญัติใหตองรับผิด เมื่อไดกระทําโดยประมาท หรือเวนแตในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว โดยแจงชัดใหตองรับผิดแมไดกระทําโดยไมมีเจตนา...”
สวนความรับผิดทางแพงนั้น ไมวากระทําโดยเจตนาหรือประมาท ผูกระทําก็ตองรับผิดทั้งนั้น
 























































































   26   27   28   29   30