Page 54 - อิเหนา
P. 54
- เอกสารประกอบการสัมมนาวรรณกรรมคัดสรรในหนังสือเรียน เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง -
การรวบรวมอำนาจและเมืองขึ้น การมะงุมมะงาหราของตัวละครเอกคือ อิเหนากับบุษบา เป็นผลให้
เกิดมีเหตุการณ์อย่างหนึ่งที่ช่วยเชื่อมโยงให้เรื่องติดต่อสัมพันธ์กันโดยตลอดคือการที่ตัวละครอื่น อยู่ใน
บ้านเมืองอื่นมายอมสยบอ่อนน้อมอยู่ในอำนาจ ยอมถวายโอรสธิดาให้ แม้ว่าขณะนั้นอิเหนาจะอยู่ใน
รูปปลอมแปลงเป็นปันหยี และบุษบาเป็นอุณากรรณ ผู้ที่มาอ่อนน้อมนั้นจะอยู่ในวงศ์ตระกูลที่ต่ำกว่า มีจิตใจ
จงรักภักดีโดยไม่คิดทรยศ
การใช้ชีวิตคู่ การที่พระเอกในวรรณคดีไทยมีสตรีอันเป็นที่รักหลายคน โดยเป็นทั้งตัวนางเอกและ
นางที่มีความสำคัญรองลงมานั้น อาจเป็นเพราะว่าบทบาทของตัวละครฝ่ายชายมีความสำคัญมากกว่าตัวละคร
ฝ่ายหญิง การมีภรรยาหลายคนจึงมีส่วนช่วยให้ความสำคัญของชายเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับสภาพสังคมไทยใน
สมัยนั้น สังคมไทยตั้งแต่โบราณมาจนถึงระยะเวลาที่แต่งเรื่องอิเหนาขึ้น มีการสมรสแบบ “พหุสามีภรรยา”
(polygamy) หรือ plural marriage และแยกเป็นประเภท “พหุภรรยา”(polygyny) คือชายคนหนึ่งมีภรรยา
ได้หลายคน ซึ่งเป็นธรรมเนียมในสังคมไทย ใครจะมีภรรยาเท่าไหร่ก็ได้ ยิ่งมีภรรยามากก็ถือว่าเป็นผู้มีบุญ
วาสนาสูง ในจดหมายเหตุลาลูแบร์ก็ได้บันทึกไว้ว่า ชายไทยสมัยอยุธยานั้น มีความเห็นว่าการมีผัวเดียวเมีย
เดียวนั้นดีที่สุด แต่คนมั่งมีนิยมมีภรรยาหลายคน เพื่อแสดงบุญบารมีของตน แต่ในบรรดาภรรยาเหล่านั้นจักยก
คนหนึ่่งขึ้นเป็นภรรยาใหญ่หรือเมียหลวง นอกนั้นเรียกว่าเมียน้อย ล้วนเป็นภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมายทุกคน
แต่ต้องอยู่ใต้บังคับของเมียหลวง เรื่องอิเหนายังถือเอาการมาก่อนหลังอย่างเคร่งครัด ผู้ที่มาก่อนคือเมียหลวง
ผู้ที่มาทีหลัง จะมีศักดิ์สูงอย่างไรก็ต้องแสดงความเคารพในผู้ที่มาก่อนเสมอ เพราะมีฐานะเท่ากับเมียน้อย
(เสาวลักษณ์ อนันตศานต์,2554,น.292 – 293)
หน้า | 51