Page 55 - อิเหนา
P. 55
- เอกสารประกอบการสัมมนาวรรณกรรมคัดสรรในหนังสือเรียน เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง -
คุณค่า
อิเหนาพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2 เป็นหนังสือที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของ
“บทละครรำ” ด้วยเหตุที่มีกระบวนกลอนอันไพเราะราบรื่น เหมาะสำหรับเป็นหนังสืออ่านที่ดีเด่นสมฐานะของ
วรรณคดี และยังใช้เล่นละครในได้ดีกว่าบทละครสมัยอื่น ๆ
บทละครอิเหนา เพียบพร้อมไปด้วยความงามและความดีในด้านวรรณคดีสำนวนภาษา ด้านศิลปะและ
ั
ความประณีตบรรจงไม่แพ้เรื่องรามเกียรติ์ ทั้งอาจจะเป็นที่นิยมกว่าเพราะเป็นเรื่องที่ต้องกบความประสงค์ของ
ผู้ดูละครในสมัยนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยก็โปรดเรื่องอิเหนามากกว่ารามเกียรติ์ และโดยที่
เรื่องอิเหนานั้นมีนักวรรณคดีรหลายท่านยกย่องว่าเป็นรัตนะของวรรณคดีไทย จึงย่อมจะเป็นวรรณคดีร้อย
กรองที่มีแง่งามอย่างเพียบพร้อมสมบูรณ์
ในเรื่องของการแสดงนั้น บทพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2 ก็ได้รับการยกย่องว่าเหมาะสมที่สุด เพราะ
กระชับ ดำเนินเรื่องให้ถึงที่จัดที่ต้องการแสดงอย่างรวดเร็ว แต่จะไม่เสียความ เพราะในตอนที่คสรยึดขยาย
ข้อความเพิ่มขึ้น ก็จะมีการเพิ่มเติมข้อความเข้าไปเช่นตอนที่ท้าวกุเรปันมีราชสารถึงอิเหนา บทพระราชนิพนธ์
รัชกาลที่ 1 กล่าวอย่างยืดยาวแต่บทพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2 ดำเนินความกระชับกว่ามาก ดังตัวอย่าง
บทรัชกาลที่ 1 ถึงจะไม่เลี้ยงบุษบา ว่าชั่วช้าอัปลักษณ์ทั้งศักดิ์ศรี
แต่เข้าแจ้งอยู่สิ้นทั้งธรณี ว่านางนี้เป็นน้องของตัวมา
อนึ่งท้าวดาหาฤทธิไกล มิใช่อาฤาไรให้เร่งว่า
อันสุริยวงศ์เราเล่าเทวา ไม่เคยเสียพาราแก่ผู้ใด
ถ้าแม้นเสียกรุงดาหา ตัวจะอาบขายหน้าฤาหาไม่
อันเกิดเหตุทั้งนี้ก็เพราะใคร ถ้าไปอยู่เลี้ยงกับบุตรี
ที่ไหนจะเกิดสงคราม ใครจะพยาบหยามได้ก็ใช่ที่
ซึ่งเกิดเหตุเภทภัยครั้งนี้ เพราะตัวทำความดีเป็นพ้นไป
หน้า | 52