Page 10 - C:\Users\USER\Documents\Flip PDF Professional\นวัฒกรรม 1\
P. 10

ข้อยกเว้นการไม่จ่ายค่าชดเชย

                       1.กรณีที่นายจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือกับลูกจ้าง

                              การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน และเลิกจ้างตามกำหนด

                       ระยะเวลานั้น ต้องเป็นการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือ

                       การค้าของนายจ้างโดยต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดแน่นอน หรือในงานอันมี

                       ลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงานหรือในงานที่

                       เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ทั้งนี้ งานดังกล่าวนั้นจะต้อง

                       แล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน ๒ ปี

                       2.กรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้

                              (1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือการกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
                              (2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

                              (3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

                              (4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบ

                       ด้วยกฎหมาย และเป็นธรรมและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่

                       ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน ทั้งนี้ หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกิน ๑ ปี

                       นับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด

                              (5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา ๓ วัน ทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็

                       ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร

                              (6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในกรณี (๖) ถ้าเป็น

                       ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษต้องเป็นกรณี ที่เป็นเหตุให้

                       นายจ้างได้รับความเสียหาย

                       9.5 ค่าชดเชยพิเศษ

                              (1) กรณีที่นายจ้างย้ายสถานประกอบการกิจการแห่งใดแห่งหนึ่งไปตั้ง ณ

                       สถานที่ใหม่ หรือย้ายไปยังสถานที่อื่นของนายจ้าง นายจ้างต้องปิดป้ายประกาศไว้ในที่

                       เปิดเผย ณ สถานประกอบกิจการนั้นตั้งอยู่และลูกจ้างเห็นได้อย่างชัดเจน ให้ลูกจ้าง

                       ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๓๐ วันก่อนวันย้ายสถานประกอบการกิจการ และประกาศ

                       นั้นอย่างน้อยต้องมีความชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้ว่าลูกจ้างคนใดจะต้องถูกย้ายไป

                       สถานที่ใดและเมื่อใด






                                                                                สิทธิหน้าที่ นายจ้าง ลูกจ้าง  10
   5   6   7   8   9   10   11   12   13