Page 13 - ตำรา
P. 13

ในส่วนของประเทศไทยวิทยุโทรเลขถูกนำมาทดลองใช้ครั้งแรกในปลายสมัยรัชกาลที่ 5 โดยห้าง

               หุ้นส่วนจำกัดบีกริมได้ทำการทดลองออกอากาศส่งสัญญาณระหว่างกรุงเทพและเกาะสีชัง

                       ในสมัยรัชกาลที่ 6 พ.ศ. 2456 กระทรวงทหารเรือ ได้ดำเนินการจัดตั้งสถานีวิทยุโทรเลขขึ้นในพระ
               นครแห่งหนึ่ง และจัดตั้งสถานีวิทยุที่จังหวัดสงขลาอกแห่งหนึ่ง ต่อมา พ.ศ. 2469 กิจการสถานีวิทยุทั้งสองแห่ง
                                                          ี
               ก็ได้ถูกโอนย้ายไปให้กรมไปรษณีย์โทรเลข จากนั้นต่อมางานวิทยุโทรเลขได้ขยายไปสู่จังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ

                       ในส่วนของการส่งการส่งวิทยุกระจายเสียงครั้งแรกของประเทศไทยนั้น เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2472มีการ

               จัดตั้งสถานีวิทยุแห่งใหม่ขึ้นที่วังพญาไท กระจายเสียงพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
               ให้ประชาชนทั่วไปได้รับฟัง ในครั้งนั้นถือว่าเป็นการส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียงเป็นครั้งแรกของประเทศไทย


                       ต่อมาในปี พ.ศ.2475 มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองสถานีวิทยุได้ถูกคณะราษฎร์ใช้เป็นสื่อในการ
               เผยแพร่ข่าวสารให้กับประชาชนอย่างสม่ำเสมอ


                       พ.ศ. 2482 รัฐบาลในขณะนั้นได้ดำเนินการจัดตั้งสำนักงานโฆษณาการขึ้นและทำการโอนสถานีวิทยุ
               ต่างๆ ให้อยู่ในการควบคุมดูแลของสำนักงานโฆษณาการ ต่อมาได้เปลี่ยนกรมโฆษณาการ และเป็นกรม
               ประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน โดยตั้งชื่อสถานีวิทยุแห่งใหม่นี้ว่า “สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย”

               หลังจากนั้นวิทยุกระจายเสียงได้มีการพัฒนาต่อเนื่องและแพร่หลายมาเป็นลำดับจวบจนปัจจุบัน




               บทบาทและหน้าที่ของวิทยุกระจายเสียง


                       1. บทบาทในการเป็นภาพสะท้อนของสังคม

               วิทยุกระจายเสียงสามารถเป็น “ภาพสะท้อน” ของสังคมได้โดยท าหน้าที่รายงานความเป็นไปในสังคม บน

               พื้นฐานของความเป็นจริง ในขณะที่ทำหน้าที่เป็นภาพสะท้อนของสังคมวิทยุกระจายเสียง ก็จำเป็น ต้องตรวจ
               ตรา ตรวจสอบความเป็นไปในสังคมด้วยว่า มีอะไรผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ หากมีก็ต้องรายงานให้สังคมได้รับรู้
               อย่างทันท่วงทีเช่นกัน


                       2. บทบาทในการเป็นตัวแทนของคนทุก ๆ กลุ่มในสังคม

               ในสังคม วิทยุกระจายเสียงต้องสามารถสะท้อนความคิดเห็นที่แตกต่างกันของคน หรือกลุ่มคนในสังคม โดยมี

               การนำเสนอข่าวสาร เรื่องราว หรือประเด็นปัญหาต่าง ๆ บนพื้นฐานของความ สำคัญที่เท่าเทียมกัน แทนที่จะ
               นำเสนอแต่เฉพาะข่าวสาร เรื่องราว หรือเหตุการณ์ที่เป็น“กระแสหลัก” แต่เพียงอย่างเดียว


                       3. บทบาทในการสร้างสาธารณมติ

                สาธารณมติหมายถึง ความคิดเห็นและทัศนคติของกลุ่มสาธารณมติ ที่มีต่อประเด็นหนึ่งที่เกิดขึ้นในสังคมใน

               ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง การสร้างสาธารณมติจึงเป็นการสะท้อน ให้เห็นความรู้สึกนึกคิดของกลุ่มคนในสังคม
               วิทยุกระจายเสียง สามารถ สร้างสาธารณมติได้ โดยหยิบยกประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาพูดถึง และเปิดโอกาสให้
               สาธารณชนได้แสดงความคิดเห็น ต่อประเด็นปัญหานั้นอย่างเท่าเทียมกัน




                                                            3
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18