Page 15 - ตำรา
P. 15

2. หน้าที่ของวิทยุกระจายเสียงในการแสดงความคิดเห็น โดยลักษณะการทำหน้าที่ในการแสดง

                               ิ
               ความคิดเห็นของวทยุกระจายเสียง
                              2.1 การให้ความคิดเห็น

                              ประเภทของรายการในการให้ความคิดเห็น ได้แก่ รายการวิจารณ์ รายการวิเคราะห์

               สถานการณ์และประเด็นปัญหาต่าง ๆ รายการที่ให้ความคิดเห็นนี้ เป็นรายการที่มีการแสดงความคิดเห็นของผู้
               ดำเนินรายการ และผู้ร่วมรายการ ทำให้สาระที่ผู้ฟัง ผู้ชมได้รับอย่างแท้จริงไม่ใช่เฉพาะเนื้อหาของข่าว แต่เป็น

               ความคิดเห็นที่มีการนำเสนอในรายการนั้น ๆ

                              2.2 การเป็นเวทีแสดงความคิดเห็น


                              นอกจากให้ความคิดเห็นแล้ว สื่อมวลชนยังเปิดโอกาสให้สมาชิกในสังคมได้แสดงความคิดเห็น
               ผ่านสื่อมวลชนเพื่อให้ทุกฝ่ายได้เสนอข้อมูล และหาวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกันต่อไป โดยเฉพาะปัญหาสังคม

               วิทยุกระจายเสียงทำหน้าที่เป็นเวทีแสดงความคิดเห็นได้ 3 ลักษณะ คือ

                                     1. เปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งสามารถทำได้
               โดยการเชิญมาแสดงความคิดเห็น ในรายการ สัมภาษณ์ หรือแสดงความคิดเห็นผ่าน ทางจดหมาย วิทยุและ

               เครื่องมือทางการสื่อสารประเภทอื่นๆ

                                     2. เป็นช่องทางในการร้องทุกข์ของประชาชน การสร้างทุกข์ของประชาชนผ่านทาง

               วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ มักจัดทำในลักษณะของรายการขนาดสั้น ที่ให้ผู้เดือดร้อนเป็นผู้นำเสนอ
               เรื่องราวด้วยตนเองทั้งภาพและเสียง เพื่อให้มีความรู้สึกปัญหาเหล่านั้น เป็นปัญหาของ “ชาวบ้าน”จริงๆ หลาย
               ครั้งที่ปัญหาเหล่านี้ได้รับการแก้ไขและสนองตอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


                                     3. เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการแสดงความคิดเห็น บางครั้งสื่อมวลชนไม่ได้ “ถาม”
               ประชาชนโดยตรงว่ามีความคิดเห็นต่อเรื่อง หนึ่งเรื่องใดอย่างไร แต่การแสดงความคิดเห็นหรือการตั้งประเด็น

               คำถามในรายการสามารถเป็นตัวกระตุ้นให้สังคมมีปฏิกิริยาต่อเรื่องนั้นได้ เช่น การที่รายการวิเคราะห์ข่าวหยิบ
               ยกประเด็นทางการเมืองขึ้นมาถกเถียง อภิปราย อาจมีผลต่อผู้รับสาร และสร้างความเป็น “สาธารณะ” โดย

               ทำให้กลุ่มคนที่เปิดรับสารในเรื่องเดียวกันมีความสนใจร่วมกัน และมีปฏิกิริยาตอบโต้ต่อประเด็นดังกล่าว

                       3. การโน้มน้าวชักจูงใจ การแสดงความคิดเห็นของสื่อมวลชนอาจนำไปสู่การโน้มน้าวชักจูงใจได้ ถ้าม ี

               การนำเสนอตามหลัก และยุทธวิธีที่เหมาะสมตามแนวคิดของทฤษฏีการโน้มน้าวใจ ว่าสื่อมวลชนสามารถทำ
               หน้าที่เรียกร้องความสนใจจากผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นในฐานะเครื่องมือที่กระตุ้นการ
               บริโภคข้อมูลข่าวสาร การเผยแพร่ความรู้ การตอกย้ำ ความจำ การปรับเปลี่ยนทัศนคติ หรือแม้แต่พฤติกรรม

               ต่าง ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเนื้อหา สาระ ประเด็น และ เรื่องราวที่นำเสนอการโน้มน้าวชักจูงใจรายการ
               วิทยุกระจายเสียง มักเป็นการนำเสนอ ในรูปแบบของการประชาสัมพันธ์เพอรณรงค์ หรือโน้มน้าวให้ประชาชน
                                                                             ื่
               มีความคิดคล้อยตามในเรื่องใด เรื่องหนึ่ง เช่น การรณรงค์โน้มน้าวใจให้คนเลิกสูบบุหรี่ เป็นต้น







                                                            5
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20