Page 16 - ตำรา
P. 16
4. หน้าที่ของวิทยุกระจายเสียงในการให้ความรู้และการศึกษา
หน้าที่ในการให้ความรู้และการศึกษาเป็นบทบาทที่สำคัญยิ่งของวิทยุกระจายเสียง เนื่องจากการศึกษา
เป็น รากฐานเบื้องต้นของการพัฒนาประเทศในทุก ๆ ด้าน สื่อมวลชนสามารถที่จะทำหน้าที่ในการให้ความรู้ที่
จำเป็นสำหรับ การปรับตัวของประชาชนให้เข้ากับการพัฒนาสังคมได้ โดยการให้ความรู้แก่ประชาชนทั้งใน
เรื่องการอ่านออกเขียนได้ การปรับปรุงการกินอยู่ และการประกอบอาชีพ สื่อมวลชนมีหน้าที่ในการให้ความรู้
และการศึกษาแก่ประชาชน ทั้งทางตรงและทางอ้อมเป็นเครื่องมือ ที่เข้ามาช่วยถ่ายทอดวิชาความรู้ เพื่อพัฒนา
บุคคลทั้งในระบบโรงเรียน และนอกโรงเรียนเราสามารถได้รับความรู้รอบตัว ความรู้ที่มีประโยชน์ต่อการ
นำไปใช้ใน ชีวิตประจำวัน และการประกอบอาชีพ ตลอดจนวิทยาการใหม่ ๆ จากรายการวิทยุกระจายเสียง
โดยไม่ต้องเข้าชั้นเรียนในขณะเดียวกันรายการวิทยุกระจายเสียงกสามารถ ทำหน้าที่เป็นสื่อหลัก หรือสื่อเสริม
็
ของการเรียนการสอนในห้องเรียนได้เช่นกัน วิทยุกระจายเสียงเป็นสื่อที่มีความเหมาะสมแก่การให้ความรู้ และ
การศึกษาเนื่องจากสามารถนำความรู้และการศึกษาไปถึงกลุ่มเป้าหมายและประชาชนทั่วไป ได้อย่างทั่วถึง
รวดเร็ว โดยการเสนอในรูปแบบที่น่าสนใจ เหมาะสมต่อการเรียนรู้และรับรู้ ของกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายทำ
ให้การเผยแพร่ความรู้และการ ศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
5. หน้าที่ของวิทยุกระจายเสียงในการให้ความบันเทิง
ื่
หน้าที่ของสื่อวิทยุกระจายเสียงเพอความบันเทิงมี 3 ลักษณะ คือ หน้าที่ในการให้ความบันเทิงโดยตรง
หน้าที่ในการให้ความบันเทิงโดยแฝงความรู้ทางอ้อม และหน้าที่ในการให้สาระบันเทิง ดังนี้
5.1 การให้ความบันเทิงโดยตรงการให้ความบันเทิงโดยตรงเป็นบทบาทเพื่อตอบสนอง
ความต้องการขั้นพื้นฐาน ของมนุษย์ในแต่ละด้านได้แก่
1. ความต้องการด้านความรู้สึก ได้แก่ ความต้องการบริโภคสื่อเพื่อประเทือง
อารมณ์ ผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น การฟังละครวิทยุ การฟังเพลงทางวิทยุกระจายเสียง
2. ความต้องการด้านส่วนบุคคล ได้แก่ ความต้องการบริโภคสื่อเพื่อแสวงหาความ
ื่
เชื่อมั่นในตนเอง เช่น ละครวิทยุที่แสดงถึงชีวิตนางเอกที่ต้องต่อสู้ดิ้นรนเพอความอยู่รอดทำให้ผู้ชมมีกำลังใจใน
ชีวิต
3. ความต้องการด้านสังคม ได้แก่ ความปรารถนาในการสังสรรค์ และมีปฏิสัมพันธ์
กับผู้อื่นรายการบันเทิงทางวิทยุกระจายเสียง ทำให้ผู้ฟัง ผู้ชมมีเรื่องราวมาเป็นหัวข้อสนทนากันระหว่างสมาชิก
ในครอบครัว เพื่อนฝูง และบุคคลอื่น ๆ ในสังคม
4. ความต้องการด้านการหลบหลีก หรือเบี่ยงเบนจากโลกแห่งความจริง ได้แก่ความ
ต้องการบริโภคสื่อเพื่อการกระตุ้นจินตนาการด้านต่างๆ ที่อยู่นอกเหนือความเป็นจริงที่กำลังเผชิญอยู่ เช่น
ละครวิทยุที่จบลงด้วยความสุขที่ทำให้ผู้ชมปลาบปลื้ม เนื่องจากเป็นเรื่องที่ไม่สามารถเป็นไปได้ในชีวิตจริง
6