Page 81 - ตำรา
P. 81
3. ช่วยให้ความรู้ทั่วไปและคำแนะนำความรู้ในด้านการประกอบอาชีพแก่คนที่สนใจ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง
ของการศึกษาตลอดชีพ
4. ช่วยเป็นช่องทางการศึกษาพิเศษให้แก่ประชาชนทั่วไปได้พัฒนาความรู้ในด้านที่สนใจ เช่น พ่อบ้าน
แม่บ้าน ที่ทำงานอยู่บ้าน หรือ บุคคลอาชีพพิเศษ เพื่อให้สามารถปรับตัวก้าวเข้าสู่สังคมได้อย่าง
รวดเร็ว
ประโยชน์และคุณค่าของการทำรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
หากกล่าวไปแล้วการทำรายการโทรทัศน์เพอการศึกษา มีความสำคัญกับชีวิตประจำวันของทุกคนเป็น
ื่
อย่างมาก ในด้านการสื่อสารให้ความรู้ได้แบบทั่วถึง อย่างที่ได้เห็นกันในปัจจุบัน ซึ่งจะกล่าวได้ว่ารายการ
โทรทัศน์เพื่อการศึกษามีประโยชน์หลักๆ ดังนี้
1. ถือว่าเป็นอุปกรณ์สำคัญในการเรียนการสอนให้กับนักเรียน นักศึกษา ได้ทุกระดับชั้น ตั้งแต่
ประถม มัธยม วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย
2. เป็นแหล่งวิทยาการความรู้อนสมบูรณ์ เพราะสามารถเผยแพร่ความรู้ไปได้ไกล นักเรียนจะได้
ั
ความรู้และประสบการณ์จากบทเรียนที่ครูได้เลือกสรรให้เป็นอย่างดี
3. ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพที่ดียิ่งขึ้นกับครูประจำชั้น ให้สามารถจดจำตัวอย่าง
หรือกลวิธีการสอนที่ดี หรือในแขนงวิชาที่ไม่ถนัด เพื่อทำการสอนให้กับนักเรียนต่อไป
4. ช่วยให้การสอนแบบสาธิตหรือปฏิบัติติเข้าใจได้ดีมากขึ้น เพราะมีทั้งภาพและเสียงไปพร้อม
กัน เช่น การทำการทดลองวิชาวิทยาศาสตร์ วิชาดนตรี วิชาการละคร วิชาศิลปะการขับร้อง ฯลฯ
5. ช่วยในเรื่องการจัดเตรียมการสอนได้ล่วงหน้า โดยการบันทึกเทปไว้ก่อน แล้วค่อยเผยแพร่
สอนในภายหลัง นอกจากนี้หากการสอนมีข้อผิดพลาดในการบันทึกรายการ ยังสามารถทำการตัดต่อแก้ไข โดย
ใช้โปรแกรมจากคอมพิวเตอร์ได้หลากหลายโปรแกรม
6. สามารถใช้ร่วมกับโสตทัศนวัสดุอปกรณ์ได้เป็นอย่างดี เช่น ภาพยนตร์ สไลด์ ฟิล์มสตริป เทป
ุ
บันทึกเสียง รูปภาพ แผนภูมิ แผนสถิติ หุ่นจำลอง และอุปกรณ์อื่นๆ
7. มีอิสระในการผลิตรายการให้ตื่นตาตื่นใจมากขึ้น ไม่ว่าจะออกไปถ่ายทำข้างนอกสถานที่หรือ
จะถ่ายทำในห้องส่งหรือสตูดิโอ แล้วทำการถ่ายทอดไปยังเครื่องรับระยะไกลๆ หรือจะบันทึกเทปเพื่อนำไปตัด
ต่อภายหลัง
8. ช่วยประหยัดงบประมาณ เวลา อุปกรณ์ และจำนวนครูผู้สอน เพราะการถ่ายทอดรายการนั้น
สามารถใช้ครูผู้สอนเพียง 1 คน สอนนักเรียนจำนวนมากๆ และหลายห้องในเวลาพร้อมกัน
ประเภทของรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ที่มีประสิทธิภาพยิ่งประเภทหนึ่ง เนื่องจากเป็นสื่อที่ส่งได้ทั้งภาพนิ่ง
ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดความรู้ การศึกษา และการสอนได้ ทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน
ในรูปแบบต่างๆ สามารถแยกออกมาได้ 3 ประเภท ดังนี้
1. การสอนโดยตรง (Direct Teaching) เป็นการทำรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาสาระที่กำหนดไว้ใน
หลักสูตร และทำการถ่ายตั้งแต่เริ่มต้นจนจบบริบูรณ์ต่อเนื่องในคราวเดียว มักใช้แบบนี้กับกลุ่มผู้เรียนขนาด
ใหญ่อย่างในโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาในระบบ
71