Page 83 - ตำรา
P. 83

เป็นหลักยึดหรือจุดร่วม เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของเนื้อเรื่องให้เกี่ยวโยงกัน เช่นตอนต้นเรื่องเป็นสาระละคร
               ตอนกลางเป็นแบบสนทนา และตอนจบเป็นแบบสารคดีเพื่อชวนติดตาม

                   9.  รายการสด (Live Program) รูปแบบนี้เน้นความสำคัญในเรื่องของเวลาในการออกอากาศอย่างมาก
               เพราะเป็นการทำรายการแบบออกอากาศแบบเรียลไทม์ ณ เวลานั้น เหตุการณ์นั้น นอกจากนี้รูปแบบรายการ
               สดนี้ยังสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม (Interactive TV) ให้มีส่วนร่วมในรายการ โดยการโทรศัพท์หรือส่ง SMS
               ข้อความสั้นเข้ามาในรายการได้ด้วย แต่ข้อควรระวังของรูปแบบนี้ คือ อาจจะมีเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น ผู้

               ดำเนินรายการและทีมงานต้องมีไหวพริบในการแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
                   10. รายการสาธิต (Demonstration) รูปแบบนี้เน้นให้ผู้ชมนำแนวทางไปใช้ได้จริง โดยเนื้อหาจะแสดงถึง
               ขั้นตอน ลำดับ และวิธีการดำเนินการ เช่นการสาธิตการทำสบู่ สาธิตการทำวุ้นดอกไม้


               การดำเนินการเผยแพร่รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา

               ปัจจุบันรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา สามารถเผยแพร่ออกอากาศได้ 2 รูปแบบหลักๆ ได้แก  ่


                   1.  การเผยแพร่แบบออฟไลน์ (Offline) เป็นการเผยแพร่รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาโดยผู้สอนจะทำ
               การนำเสนอผ่านเครื่องฉาย หรือการถ่ายผ่านกล้องวีดีโอ หรือผ่านกล้องโทรศัพท์มือถือ และนำไปทำสำเนา
               รายการไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และทำการบันทึกผ่านวัสดุบันทึกข้อมูลประเภทต่างๆ เช่น ซีดี ดีวีดี แฟลช
               ไดรฟ์ เป็นต้น โดยการเผยแพร่แบบออฟไลน์


                       ข้อดีของการเผยแพร่แบบออฟไลน์ คือสามารถกำหนดคุณภาพของผลงานได้ อย่างทำการตัดต่อให้
               น่าสนใจมากยิ่งขึ้น หรือตัดต่อนำส่วนที่มีความผิดพลาดออก ฯลฯ หลังจากนั้นก็ทำการบันทึกลงในวัสดุบันทึก
               ข้อมูลต่างๆ พร้อมพกพาไปนำเสนอรายการโทรทัศน์ได้อย่างสะดวก


                       ข้อเสียของการเผยแพร่แบบออฟไลน์ คือ ของการเผยแพร่แบบออฟไลน์ ก็มีคือ การเผยแพร่ได้ใน
               ขอบเขตจำกัด อย่างเฉพาะในห้องเรียน เฉพาะผู้สอนอนุญาต หรือผู้ที่ซีดี ดีวีดี แฟลชไดรฟ์ เท่านั้น


                   2.  การเผยเพร่แบบออนไลน์ (Online) กล่าวคือปัจจุบันเราได้เข้าสู่สังคมดิจิทัล การสื่อสารเผยแพร่
               รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาจึงสามารถเผยแพร่ได้สะดวกมากขึ้น ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น
               Facebook Line Instagram Twitter WeChat ฯลฯ นอกจากนี้ยังสามารถเผยแพร่ผ่านคลังวีดิทัศน์ออนไลน์

               เช่น Youtube เว็บบล็อกต่างๆ เว็บไซน์ของสถานศึกษา หรือเว็บฐานข้อมูลที่จัดทำขึ้นมาโดยเฉพาะ เป็นต้น

                       ข้อดีของการเผยเพร่แบบออนไลน์ คือ สามารถกำหนดคุณภาพของผลงานได้ อย่างทำการตัดต่อให้
               น่าสนใจมากยิ่งขึ้นเช่นเดียวกับแบบออฟไลน์ ยกเว้นการไลฟ์สด (Live) แต่ข้อดีที่สำคัญของการเผยแพร่แบบ
               ออนไลน์นั้น คือ ผู้สอนสามารถเผยแพร่ผลงานได้แบบวงกว้าง ได้ทั้งในห้องเรียนและผู้ที่สนใจในเนื้อหานั้นๆ

               นอกจากนี้ยังประหยัดงบประมาณและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า

                       ข้อเสียของการเผยเพร่แบบออนไลน์ คือ คุณภาพของไฟล์อาจจะคุณภาพน้อยลงกว่าต้นฉบับ เพราะ

               ต้องบีบอัดไฟล์เพื่อที่จะเพยแพร่ลงช่องทางต่างๆ รวมถึงอาจจะต้องทำการตัดเนื้อหาออกเป็นตอนๆ จึงทำให้
               เนื้อหาการรับชมไม่ต่อเนื่อง


                                                           73
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88