Page 82 - ตำรา
P. 82

2.  การใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน (Teaching Aids) ส่วนใหญ่การทำรายการประเภทนี้จะใช้ในการแบ่ง
               ส่วนเนื้อหาย่อยหลายๆส่วน แต่ละส่วนจะเน้นเนื้อหาแต่ละประเด็น ใช้ประกอบการสอนให้ผู้เรียนชมในช่วง

               สั้นๆ เพื่อที่จะทำกิจกรรมอื่นต่อเนื่อง มักจะใช้การถ่ายทำแบบบันทึกลงในรูปแบบรายการวีดิทัศน์ (Video
               Program) มาให้ผู้ชมเรียนแบบกลุ่มย่อยหรือรายบุคคล สามารถใช้ได้ทั้งการศึกษาในระบบและนอกระบบ
                   3.  การใช้สอนเสริมความรู้ (Enrichment) รายการประเภทนี้จะจัดทำขึ้นเพื่อสอนเสริมความรู้ความ
               เข้าใจในหลักสูตร โดยเนื้อหาสาระจะไม่ตรงกับข้อหัวในหลักสูตร แต่สาระเนื้อหาจะช่วยเสริมความรู้ให้เข้าใจ

               ในบทเรียนได้มากขึ้น หรือถ้ากล่าวอีกแบบคือเป็นรายการที่สนับสนุนการเรียนการสอนให้ความรู้เพื่อพัฒนา
               ผู้ชมให้มากขึ้นกว่าเดิม รายการประเภทนี้จะมีใช้ได้หลากหลาย ทั้งในการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ
               และการศึกษาตามอัธยาศัย


               รูปแบบของรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
                       ในการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา รูปแบบการผลิตก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญ ก่อนที่จะผลิต

               รายการต้องพิจารณารูปแบบให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ที่วางแผนไว้ รวมถึงเนื้อหาที่จะทำ เวลาที่จะ
                                                                                 ื่
               ออกอากาศ และกลุ่มผู้ชมที่ต้องการเผยแพร่ โดยรูปแบบของรายการโทรทัศน์เพอการศึกษาแบ่งออกมาได้ 10
               แบบ ดังนี้


                   1.  พูดหรือบรรยายคนเดียว (Monologue) รูปแบบนี้จะเป็นการดำเนินรายการโดยวิทยากรเพียงคน
               เดียวมาพูดให้ผู้ชมฟัง เน้นเนื้อหาการพูดของวิทยากรเป็นหลัก แต่อาจจะใช้สื่ออื่นมาประกอบการบรรยายให้
               เข้าในและน่าใจมากยิ่งขึ้น

                   2.  สัมภาษณ์ (Interview) รูปแบบนี้นี้จะเน้นดำเนินรายการแบบถามตอบ โดยการนำหัวข้อสาระความรู้
               ที่น่าสนใจ มาทำในรูปแบบการถามโดยผู้สัมภาษณ์และตอบโดยผู้ให้สัมภาษณ์
                   3.  สนทนา (Dialogue) เป็นรูปแบบการทำรายการแบบเน้นแสดงความคิดเห็นร่วมกันในประเด็นที่
               กำหนด โดยผู้ร่วมรายการต้องมีตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป

                   4.  อภิปราย (Discussion) รูปแบบนี้ เป็นรายการแบบเน้นการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกันของผู้ร่วม
               รายการ โดยจะมีผู้ดำเนินรายการอภิปรายจะเป็นผู้แนะนำผู้ร่วมรายการ พร้อมให้ผู้ร่วมรายการแสดงความ
               คิดเห็นของแต่ละคน และสรุปว่าใครคิดเห็นอย่างไรในตอนสุดท้ายของรายการ โดยจะมีผู้ร่วมรายการตั้งแต่ 3
               คนขึ้นไป

                   5.  สาระละคร (Docu-Drama) รูปแบบนี้จะเป็นการผสมผสานระหว่าง 2 รูปแบบเข้าด้วยกัน ระหว่าง
               รูปแบบรายการสารคดีกับรูปแบบละคร เช่น มีรายการละครตอนต้นและตามด้วยมีผู้ดำเนินรายการหรือ
               ผู้บรรยายมา เกริ่นนำ อธิบาย ขยายสาระ และสรุปประเด็นตอนจบ โดยรูปแบบละครจะเน้นแสดง

               ความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครและเนื้อหาส่วนอื่นๆ ของรายการ
                   6.  ละคร (Drama) รูปแบบนี้จะเน้นการแสดงบทบาทตัวละครที่สมจริงตามเนื้อหาของรายการที่วางไว้
               ตลอดตั้งแต่ต้นรายการจนจบรายการ
                   7.  สารคดี (Documentary) เนื้อหาของรูปแบบนี้จะเน้นการเสนอเรื่องราวจากเรื่องจริง เหตุการณ์จริง
               และสถานที่จริงมาร้อยเรียงเรื่องราว เพื่อมาเสนอตลอดรายการ โดยอาจจะมีผู้ดำเนินรายการหรือผู้สัมภาษณ์ที่

               เกี่ยวข้องกั บเนื้อหาเรื่องจริงนั้นๆ เข้ามาร่วมในรายการด้วย
                   8.  นิตยสารอากาศ (Magazine)  รูปนี้แบบจะเป็นแบบวาไรตี้ มีการผสมผสานกันของหลายๆ รูปแบบเข้า
               ด้วยกัน เพื่อให้เนื้อหามีความน่าสนใจ ไม่ซ้ำซากจำเจ จบแบบน่าติดตาม แต่ต้องมีการกำหนดแกน (Theme)



                                                           72
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87