Page 17 - แผนพัฒนาการศึกษา พ.ศ.2566-2570
P. 17

2




                           ดังนั้น เพื่อให้เป็นตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
                     พ.ศ. 2546  และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 และบทบาทหน้าที่ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบ

                     แห่งชาติ รวมถึงสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี)
                     กรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการ

                     ปฏิรูปประเทศ ร่างกรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570)

                     (ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570)  นโยบายและจุดเน้น
                     ของกระทรวงศึกษาธิการ รวมถึงบริบทในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง

                     สำนักงานศึกษาธิการภาค 12 จึงทบทวนแผนพัฒนาการศึกษากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                     ตอนกลาง พ.ศ. 2566 – 2570 (ฉบับทบทวน พ.ศ. 2566)  ให้มีความสอดคล้องกับบริบทสำคัญ
                     ที่เปลี่ยนแปลงใหม่ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือกำหนดทิศทางการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ รับผิดชอบในเขต

                     ตรวจราชการที่ 12 ประกอบด้วย จังหวัดร้อยเอ็ด  จังหวัดขอนแก่น  จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัด

                     กาฬสินธุ์ หรือกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ และให้หน่วยงานในพื้นที่ได้กำหนดนโยบายและทิศทาง
                     การพัฒนาของหน่วยงานและใช้เป็นแนวทางในการนำสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ

                     ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามทิศทางที่วางไว้


                     1.2 ความเป็นมา

                            1.2.1 บทบาทและหน้าที่

                               ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษา

                     ในภูมิภาค ของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 กำหนดให้มีสำนักงาน
                     ศึกษาธิการภาค จำนวนสิบแปดแห่ง สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ตามบัญชีที่

                     รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประกาศกำหนด เพื่อปฏิบัติภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการ

                     และหน่วยงานอื่น หรือภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่นั้น ๆ โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
                                1. กำหนดยุทธศาสตร์และบทบาทการพัฒนาภาคต่าง ๆ ให้เชื่อมโยงและสอดคล้อง

                     กับทิศทางการพัฒนาประเทศ ทิศทางการดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการในระดับภูมิภาคหรือ
                     จังหวัด นโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ และยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด

                     รวมทั้งการพัฒนาด้านอื่น ๆ  ในพื้นที่รับผิดชอบตามศักยภาพและโอกาสของบุคคลและชุมชน

                     ในแต่ละพื้นที่
                                2. สนับสนุนการพัฒนาจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านวิชาการ การวิจัย

                          ั
                     และพฒนา
                                3. กำกับดูแล ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด
                     ในพื้นที่รับผิดชอบ





                     ---------------------------------------------------------------------------------
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22