Page 16 - แผนพัฒนาการศึกษา พ.ศ.2566-2570
P. 16
ส่วนที่ 1
บทนำ
แผนพัฒนาการศึกษากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง พ.ศ. 2566-2570
(ฉบับทบทวน พ.ศ. 2566) ของสำนักงานศึกษาธิการภาค 12 ฉบับนี้ ได้จัดทำภายใต้กรอบแนวคิด
ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มีความ
สอดคล้องและเชื่อมโยงแผนระดับ 1 ระดับ 2 ระดับ 3 และแนวนโยบายที่เกี่ยวข้อง โดยมีหลักการ
และเหตุผลความเป็นมา วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินงาน และผลที่คาดว่าจะได้รับ ดังนี้
1.1 หลักการและเหตุผล
ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
หมวด 3 มาตรา 9 ได้กำหนดไว้ว่าการบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐให้ส่วน
ราชการปฏิบัติ ดังนี้ 1) ก่อนจะดำเนินการตามภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการ
ไว้เป็นการล่วงหน้า 2) การกำหนดแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการตาม (1) ต้องมีรายละเอียด
ของขั้นตอนระยะเวลาและงบประมาณที่จะต้องใช้ในการดำเนินการของแต่ละขั้นตอน เป้าหมาย
ของภารกิจ ผลสัมฤทธิ์และตัวชี้วัดความสำเร็จของภารกิจ ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย
หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 มาตรา 7 ประกอบ มาตรา
33 กำหนดให้ส่วนราชการจัดให้มีการทบทวนภารกิจของตนว่าภารกิจใดมีความจำเป็นหรือสมควร
ที่จะยกเลิก ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงการดำเนินการต่อไป หรือไม่ โดยคำนึงถึงยุทธศาสตร์ชาติ
แผนแม่บท แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายของคณะรัฐมนตรี
ที่แถลงต่อรัฐสภา และแผนอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกำลังเงินงบประมาณของประเทศ ความคุ้มค่า
ของภารกิจและสถานการณ์อื่นประกอบกัน ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2562
เห็นชอบให้หน่วยงานของรัฐบาลปรับปรุงแผนระดับ 3 ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และแผนแม่บท
ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ โดยเมื่อปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สำนักงานศึกษาธิการภาค 12 ได้ดำเนินการ
จัดทำแผนพัฒนาการศึกษากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง พ.ศ. 2566–2570
โดยประสานการบริหารงานระหว่างหน่วยงานราชการส่วนภูมิภาคและหน่วยงานระดับจังหวัดในพื้นที่
ในการกำหนดยุทธศาสตร์และเป้าหมายการพัฒนาการศึกษาที่สอดคล้องและเชื่อมโยงกับเป้าหมาย
การพัฒนาด้านอื่น ๆ ในพื้นที่กลุ่มจังหวัด ที่เหมาะสมตามบริบท ศักยภาพ และโอกาสของพื้นที่
ให้เกิดการนำไปสู่การปฏิบัติแบบบูรณาการ ยึดการมีส่วนร่วมและประโยชน์สุขของเด็กและเยาวชน
เป็นหลัก นั้น