Page 192 - หนังสือเมืองลับแล(ง)
P. 192
และนางสุมาลาเป็นพระชายาซ้ายขวา และได้สร้างวังขึ้นใกล้เคียงกับวัดป่าแก้วเรไร (คือ บริเวณวัดเจดีย์คีรี
วิหาร ยังมีทรากคูเวียงปรากฏอยู่) และเจ้าฟ้าฮ่ามกุมารก็ได้ขึ้นครองเมืองลับแลเป็นปฐมตั้งแต่ พ.ศ. ๑๕๑๓
เป็นต้นมา ในครั้งนั้นอาณาเขตเมืองลับแลมีดังนี้
ทิศเหนือ จดอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่
ทิศใต จดอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์
้
ทิศตะวันออก จดท่าโพ ท่าอิฐ ท่าเซาว์ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
ทิศตะวันตก จดอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
่
เมื่อเจ้าฟ้าฮ่ามกุมารขึ้นครองเมืองแล้ว ก็มีราษฎรอพยพมาอยู่เพิ่มมากขึ้น พระองค์ก็จัดสรรแบงบันท ี่
ให้อยู่ คือ ราษฎรเชื้อสายเชียงแสน ตั้งบ้านอยู่ตั้งแต่ บ้านคอกช้าง บ้านต้นเกลือ ถึงบ้านท้องลับแล ส่วนพวก
เชื้อสายจากเวียงจันทน์ ซึ่งอพยพมาอยู่ด้วยให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ทบ้านกระดาย บ้านนาแต๊ว บ้านนาทะเล และ
ี่
ั
บ้านปากฝาง พระองค์ดำรงตนอยู่ในทศพิธราชธรรม ทรงปกครองราษฎรแบบบิดาปกครองบุตร โดยใช้หลก
คุณธรรม ใช้พระคุณ ไม่ใช้พระเดช ตัดสินคดีความด้วยพระเมตตา อบรมสั่งสอนให้ราษฎรเป็นพลเมืองดี คราว
ใดที่เกิดแผ่นดินแห้งแล้ง พืชผลไม่อุดมสมบูรณ์ ข้าวยากหมากแพงหรือเกิดโรคระบาด พระองค์จะเสด็จไปยัง
ม่อนจำศีลเพื่อถือภาวนาอธิษฐานขอให้เหตุร้ายของบ้านเมืองจงสงบระงับลง ก็สำเร็จลงตามความปรารถนา
เสมอมา ยังความรักและความเคารพศรัทธาจากราษฎรเป็นอันมาก
เรื่องที่ ๒ ด้านศาสนา
พระองค์มีจิตใจฝักใฝ่ในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง เมื่อ พ.ศ. ๑๕๑๙ พระองค์มีพระราชดำริจะสร้าง
ุ
พระสถูปเจดีย์ เพื่อประกาศศาสนาจึงได้เสดจไปยังโยนกนคร เพื่อขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุจากพระธาตดอย
็
ี
ี
ตุง จังหวัดเชียงราย อัญเชิญมาบรรจุที่สถูปเจดีย์วัดป่าแก้วเรไร (วัดเจดย์คีรีวิหาร ปัจจุบัน) เจดีย์นี้จึงเป็นเจดย์
ู้
ู้
้
ิ
แห่งแรกของเมืองลบแลที่บรรจพระบรมสารีริกธาตุ (ปัจจุบันนี้กรมศลปากรไดขึ้นทะเบียนไว้ และมีผเฒ่าผแก่
ั
ุ
เล่าให้ฟังว่า ถึงวันศีล วันธรรม จะมีดวงไฟสุขสว่างลอยขึ้นเหนือพระเจดีย์อยู่เป็นประจำ) และใน พ.ศ. ๑๕๒๕
หลังจากปราบพวกขอมแล้ว พระองค์ก็เสด็จไปโยนกนครอีกครั้งหนึ่งเพื่อขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุจากพระ
บิดาจำนวน ๓๒ องค์ เพื่อมาบรรจุไว้ที่สถูปเจดีย์วัดม่อนธาตุ ซึ่งสร้างขึ้นใหม่และยังได้ทรงสร้างวัดชัยชุมพล
และสร้างวัดดอนชัยขึ้นอีกด้วย
การวิเคราะห์วรรณกรรมเมืองลับแล
หน้า ๔๒