Page 195 - หนังสือเมืองลับแล(ง)
P. 195

ข้อสังเกต

                       จากเนื้อความใน “อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพพระครูธรรมเนตรโศภณ” ทำให้เห็นว่า หนังสือ

               ฉบับนี้เป็นการสรุปย่อเนื้อความจาก “ประวัติเมืองลับแล” ฉบับพระครูสิมพลคณานุยุต แลวทำให้เนื้อความมี
                                                                               ี
                                                                                          ้
               ความกระชับมากยิ่งขึ้น แตกต่างกันที่เห็นได้ชัดคือ
                       ๑. นายสมปรารถน์  เสาวไพบูลย์ ได้ปรับแก้ปีศักราชที่พระเจ้าฟ้าฮ่ามราชกุมารมาครองเมืองลับแล

               จากฉบับพระครูสิมพลีคณานุยุต ระบุเป็น “พ.ศ. ๕๑๓” แต่นายสมปรารถน์  เสาวไพบูลย์ ได้ระบุเป็น

               “พ.ศ. ๑๕๑๓” คือเพิ่มไปอีก ๑๐๐๐ ปีจากฉบับแรก
                                                                                             ี
                       ๒. นายสมปรารถน์  เสาวไพบูลย์ ได้ปรับแก้ปีศักราชที่มีการสร้างพระสถูปเจดีย์วัดเจดย์คีรีวิหาร จาก
               ฉบับพระครูสิมพลีคณานุยุต ระบุเป็น “พ.ศ. ๕๑๙” แต่นายสมปรารถน์  เสาวไพบูลย์ ได้ระบุเป็น
               “พ.ศ. ๑๕๑๙” คือเพิ่มไปอีก ๑๐๐๐ ปีจากฉบับแรก

                       ๓. นายสมปรารถน์  เสาวไพบูลย์ ได้ระบุชื่อเมืองว่า “เมืองเชียงแสน” เพื่อย่อจากชื่อ “นครนาคพันธ์

               สิงหนวัติโยนกชัยบุรีศรีเชียงแสน” ส่วนฉบับพระครูสิมพลีคณานุยุต ระบุชื่อเมืองว่า “พระนครนาคพันธ์สิงหน
               วัติโยนกชัยบุรีศรีเชียงแสน” ทุกครั้ง ระบุชื่อ “ชาวเมืองเชียงแสน” และ “บ้านเชียงแสน หมู่ที่ ๑ ตำบล

               ฝายหลวง” เท่านั้นที่ถูกย่อคำให้กระชับ

                       ๔. นายสมปรารถน์  เสาวไพบูลย์ ได้ระบุว่า “นครนาคพันธ์สิงหนวัติโยนกชัยบุรีศรีเชียงแสน เป็น
               ราชธานี (คืออำเภอเชียงแสน  จังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน)” แต่ฉบับพระครูสิมพลีคณานุยุต ไม่ได้บอกพิกัด

               กำกับชัดเจน

                       ๕. ในการสร้างอนุสาวรีย์เจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร ที่เชิงม่อนอารักษ์ นายสมปรารถน์  เสาวไพบูลย์ และชาว
               ลับแล ได้ “วางศิลาฤกษ์อนุสาวรีย์เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๖” และ “ประกอบพิธีเปิดอนุสาวรย์
                                                                                                        ี
               เจ้าฟ้าฮ่ามกมาร ในวันพุธ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๔ ปีชวด ตรงกับวันที่ ๑๔ มีนาคม  พ.ศ. ๒๕๒๗” ก่อนงาน
                          ุ
               พระราชทานเพลิงศพพระครูธรรมเนตรโสภณ ราว ๑ เดือน (๙ เมษายน  พ.ศ. ๒๕๒๗) และข้อมูลจารึกท       ี่
               อนุสาวรีย์เจ้าฟ้าฮ่ามกุมารได้อ้างอิงการเรียบเรียงของนายสมปรารถน์  เสาวไพบูลย์ มากกว่า ฉบับพระครู

               สิมพลีคณานุยุต
















                                             การวิเคราะห์วรรณกรรมเมืองลับแล
                                                        หน้า ๔๕
   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199   200