Page 946 - หนังสือเมืองลับแล(ง)
P. 946
คร่าวบทที่ ๒ – ๕ เรื่องเริ่มโดยการที่กษัตริย์พม่าส่งราชสาส์นมายังเจ้าฟ้าเมืองยองและเจ้าหัวเมือง
ใหญ่น้อยที่อยู่ใต้อำนาจของตน เมื่อปีมะเส็ง หรือ ปีดับใส้ เดือน ๑๒ ขึ้น ๘ ค่ำ( พุธ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๑๖)
ให้ยกทัพเพื่อร่วมไปโจมตีกรุงธนบุรี
ี
คร่าวบทที่ ๑๐๐ – ๑๑๐ กล่าวว่า รวมพลทัพจากเมืองต่างๆที่เมืองเชยงแสนราวหนึ่งเดือนกับอีกหนึ่ง
วัน และเมื่อเดือนยี่ ขึ้น ๑๔ ค่ำ(ศุกร์ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๓๑๖ ) พม่ามีราชสาส์นมาถึงความว่า วันพรุ่งนี้ซึ่งเป็น
ี่
วันไชยยา ยามตะวันรอดนาทีเที่ยงฟ้า หรือ เที่ยงวัน(วันเสาร์ท ๓๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๓๑๖ ตรงกับวันยี่เป็งของ
ล้านนา เป็นวันพระใหญ่) ให้ทัพเมืองยองเป็นทัพหน้าเริ่มออกเดินทัพฯ ก่อนออกเดินทางเจาฟ้าเมืองยองและ
้
โป่สุพลาจึงได้ไปกระทำบุญถวายทาน ไหว้พระเจดีย์เมืองเชียงแสน
คร่าวบทที่ ๑๖๔ – ๑๖๕ กล่าวว่า กองทัพพม่าซึ่งเป็นกองทัพผสมนี้เดินทางข้ามชายแดนล้านนามา
ทางเมืองแพร่ มายั้งทัพที่ปางสักหลวง แล้วจึงมาถึงบริเวณ ห้วยเกียงภา เมื่อเดือน ๓ ขึ้น ๒ ค่ำ(อังคาร ๑๖
พฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๑๖) ก่อนจะเข้าสู่เมืองลับแลง เมื่อเดือน ๓ แรม ๓ ค่ำ ยามเช้า (พฤหัสบดี ๒ ธันวาคม
พ.ศ.๒๓๑๖) แล้วทำการตั้งค่ายหอรบทนี่
ี่
คร่าวบทที่ ๑๗๑ – ๑๗๓ กล่าวว่า เมื่อเดือน ๓ แรม ๑๑ ค่ำ (ศุกร์ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๑๖) โปสุพลา
มีคำสั่งให้เคลื่อนทัพออกจากค่ายโดยให้ทัพเมืองยองเป็นทัพหน้า
ทัพพม่าใช้เวลาในการสร้างคายและพักยั้งอยู่ที่เมืองลบแลสบวัน จึงออกเดินทาง (เสาร์ ๑๑ ธันวาคม
่
ั
ิ
พ.ศ.๒๓๑๖)
่
ี
ั
จากนั้นเนื้อความในคร่าวก็กล่าวถึงเหตุการณ์การเข้าตคายเมืองสุโขทัย และการรบพุ่งระหว่างกองทพ
พม่ากับกองทัพพิษณุโลก ซึ่งในที่สุดทัพพม่าก็พ่ายต่อทัพเมืองพิษณุโลก ทั้งเจ้านายหัวหมู่ไพร่ไทต่างพากัน
หลบหนีกลับมาตามเส้นทางเดิม
คร่าวบทที่ ๓๓๗ – ๓๔๐ กล่าวความเมื่อ เจ้าฟ้าเมืองยองจึงได้หนีกลับมาตั้งหลักที่เมืองลับแลงอีกครั้ง
เมื่อราวเดือน ๕ แรม ๔ ค่ำ(จันทร์ ๓๑ มกราคม พ.ศ.๒๓๑๗) แล้วจึงเดินทางต่อกลับทางเดิมผ่านปางสัก ถึง
เมืองแพร่ ริมแม่น้ำยม เมื่อเดือน ๕ แรม ๕ ค่ำ(อังคาร ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๗)
คร่าวบทที่ ๓๗๕ – ๓๗๗ กล่าวถึงเหตุการณ์ที่กองทัพพม่าเดินทางกลับมาเข้าเมืองเชียงแสน ซึ่งตรง
กับวันปีใหม่ของล้านนาหรือวันพญาวัน เดือน ๖ เพ็ง (ศุกร์ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๗)
เหตุการณ์ที่ปรากฏในคร่าว ที่เริ่มตั้งแต่พม่าส่งราชสาส์นมายังเจ้าฟ้าเมืองยองและเจ้าหัวเมืองใหญ่
ิ้
น้อย เมื่อปมะเส็ง หรือ ปีดับใส้ เดือน ๑๒ ขึ้น ๘ ค่ำ( พุธ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๓๑๖) จวบจนเสร็จสนสงคราม
ี
กองทัพเดินทางกลับมาถึงเมืองเชียงแสนในวันพญาวันของปีถัดมา ใช้ระยะเวลาร่วมหกเดือน คร่อมปีพ.ศ.
๒๓๑๖ – ๒๓๑๗ ภายหลังจากนั้นอีกห้าปีกวีจึงได้นิพนธ์คร่าวเรื่องนี้ขึ้น ถือได้ว่าเป็นเอกสารที่ควรพิจารณายิ่ง
ภาคผนวก ~ หน้า ๗๖ ~