Page 949 - หนังสือเมืองลับแล(ง)
P. 949
เนื้อความสำคัญที่เกี่ยวพันกับพื้นที่ใกล้ๆหรืออาณาเขตของเมืองลับแลง(เมืองลับแล) ควรพิจารณาคร่าวบทท ี่
๑๕๙ ที่กล่าวถึง เดือนสามแก้ว ก็เพียบเพ็งมา ซึ่งระบุช่วงเวลาเดือนสาม วันเพ็ญ จากนั้นคร่าวบทที่ ๑๖๒
กล่าวถึงทัพพม่าไปปลงทัพหรือจัดตั้งทัพที่ ปางสักหลวง ซึ่งอาจหมายถึงพื้นที่บริเวณรอยต่อของอาณาจักร
ล้านนากับสยาม จากนั้นทัพพม่าจึงเคลื่อนเข้าสู่อาณาเขตของเมืองลับแลบริเวณห้วยเกียงภา ซึ่งห้วยเกียงภา
ุ
นั้นยังคงปรากฏอยู่จวบจนปัจจุบัน ห้วยเกียงภาเป็นแม่น้ำที่ไหลมาจากเขาพลึงมารวมกับห้วยกั้ง ซึ่งในที่สด
แล้วจะนำไปสู่พื้นราบบริเวณม่อนคีรีเมืองที่เป็นที่ตั้ง ด่านคีรีเมือง ของเมืองลับแล
่
คร่าวบทที่ ๑๖๔ กล่าวว่าทัพพม่ามาถึงห้วยเกียงภาเมื่อวันลุนขึ้นสองค่ำ หมายถึง เดือน ๓ ขึ้น ๒ คำ
้
(อังคาร ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๑๖) กวีได้กล่าวว่าที่ห้วยเกียงภานี้ ม่านแต่งการหื้อ บ่มีที่เทิกเท้า (เทิกเทา
ในภาษาล้านนาแปลว่า มากมาย คับคั่ง หรือ บ่มีที่ทึกที่เท้า ซึ่งหมายถึงไม่มีที่สิ้นสุด) ดังนั้นความนี้อาจแปลได ้
ว่า พม่าจัดการให้เหล่าทหารต่างเมืองทำงานมากมายไม่มีที่หมดสิ้น ขณะเมื่อตั้งอยู่ที่บริเวณห้วยเกียงภานี้
คร่าวบทที่ ๑๖๕ – ๑๖๖ กล่าวว่า เถิงเดือนแรมสามค่ำยามเช้า เข้าสู่ห้องลับแลง หมายถึง เดือน ๓
้
ั
แรม ๓ ค่ำ ยามเช้า (พฤหัสบดี ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๖) ทัพพม่าจึงสามารถยกเข้าสู่เมืองลบแลได้โดยใชเวลา
ราวครึ่งเดือน นัยตรงนี้สื่อถึงว่าพม่าสามารถตีเมืองลับแลแตก ส่วนข้อมูลจาก พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา
ฉบับพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ที่ให้ข้อมูลว่า กองทัพโป่สุพลาเข้าตีเมืองลับแลแตกเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๕
ี่
กวียังได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าทเมืองลบแลนี่เองที่กองทัพพม่าไดทำการ แปงทัพใหญ่กว้าง หรือจดสร้าง
ั
ั
้
กองทัพให้มีขนาดใหญ่ ซึ่งอาจหมายถึงการเอาชายฉกรรจ์เมืองลับแลที่พ่ายสงครามเข้าไว้ในกองทัพด้วย
เมื่อทำการเทียบเคียงกับข้อมูลจากพงศาวดารกรุงธนบุรีฉบับพันจันทนุมาศ หนังสือเจาพระยาจักรีฯ
้
ถึงเจ้าพระยาสวรรคโลก ฉบับที่ ๔ ความว่า “นายฝองหนีมาแต่กองทัพพม่าให้การว่า พระเจ้าอังวะป่วยตาย
ลูกพระเจ้าอังวะขึ้นเป็นเจ้าเมืองอังวะ...หนังสือมาณ วัน ๑ ๑๒ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๓๖ ปีมะเมียฉอศก (พ.ศ.
๒๓๑๗)”
ิ
และข้อมูลจากหนังสือเจ้าพระยาจักรีฯถึงพระศรีสวัสด ฉบับที่ ๕ ความว่า “นายฝองชาวเมืองลับแล
หนีมาแต่กองทัพโป่ชุกพลา ให้การว่าพระเจ้าอังวะเป็นไข้ตาย ลูกเจ้าอังวะผู้ตายขึ้นครองราชย์สมบัตแทนบิดา
ิ
ั
... หนังสือมาณ วัน ๑ ๑๒ ค่ำ จุลศกราช ๑๑๓๖ ปีมะเมียฉอศก (พ.ศ.๒๓๑๗)”
พันจันทนุมาศ (เจิม), ๒๔๘๐, พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๕,
กรุงเทพ: เดลิเมล, หน้า ๑๐๕-๑๐๖
์
พิจารณาความแล้วเป็นไปได้ว่า นายฝองชาวเมืองลับแลอาจถูกกวาดต้อนเข้าใส่ในกองทัพโปสุพลา
เมื่อคราวเมืองลับแลแตกปีพ.ศ.๒๓๑๖ แล้วหลบหนีออกมาได้ในปี พ.ศ. ๒๓๑๗
นอกจากนี้แล้วเนื้อความในคร่าวยังบอกอีกว่า พม่าได้เกณฑ์ผู้คนจากทุกเมือง(ทัพผสม)มาช่วยกัน
แปงยองชู คะลุก ทังเมียกทา และแม่คะทุก ไทยว่าตายเตย สุบู หอผ่อดู แต่งไว้ชุกล้ำ ความตรงนี้กลาวถึงการ
ี้
่
่
สร้างป้อมค่ายของพม่าทเมืองลบแล ด้วยความที่กวีเป็นคนยองจึงมีคำศัพททออกเสยงสำเนียงตางไปจากไทย
ี่
ั
ี
ี่
์
วนล้านนาเชียงใหม่ จึงควรทำการพิจารณาคำและความหมายของคำศัพท์ที่พบอย่างรอบคอบดังนี้
ภาคผนวก ~ หน้า ๗๙ ~