Page 162 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 162
158
07-03 Poster Presentation
ชื่อเรื่อง : Syringe สื่อรัก
เจ้าของผลงาน : ศิริพรรณ์ ถนอมสิงห์
E-mail : ipd1_pp@hotmail.com
หน่วยงาน : งานผู้ป่วยในสูติ นรีเวชกรรม (หลังคลอด) โรงพยาบาลปากช่องนานา จังหวัดนครราชสีมา
ความเป็นมาและความสำคัญ : จากการวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอด
โรงพยาบาลปากช่องนานา พบว่า ร้อยละ 30 ของมารดาหลังคลอดใน 24 ชั่วโมงแรกน้ำนมไม่ไหล และมารดาขาดความรู้
เกี่ยวกับกลไกการสร้างและหลั่งของน้ำนม ส่งผลให้มารดาหลังคลอดขาดความมั่นใจว่ามีนมไม่เพียงพอสำหรับบุตร กลัวบุตรได้
นมไม่เพียงพอ เกิดความวิตกกังวลในการให้นมบุตร ความเครียด วิตกกังวล ในมารดาหลังคลอด ส่งผลให้ Hypothalamus
หลั่งสารDopamine ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งของฮอร์โมน Oxytocin ปริมาณฮอร์โมน Oxytocin ลดลง ทำให้การไหลของ
น้ำนมไม่ดี หรือน้ำนมไม่ไหล ซึ่งเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อช่วยลดปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำ
นวัตกรรมเรื่อง Syringe สื่อรักขึ้น เพื่อ ลดความวิตกกังวลของมารดาหลังคลอด และเสริมสร้างความมั่นใจในการเลี้ยงลูก
ด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่อง
กิจกรรมการพัฒนา : เพื่อลดความวิตกกังวลของมารดาหลังคลอดในการให้นมบุตร กระตุ้นการสร้างน้ำนมในมารดาหลัง
คลอดใน 24 ชั่วโมงแรก มีความพึงพอใจต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คิดเป็นร้อยละ 90 วิธีการดำเนินการพัฒนาคัดเลือก
กลุ่มเป้าหมายคือมารดาหลังคลอด 24 ชั่วโมงแรกที่ยังไม่มีน้ำนม ไม่มีภาวะแทรกซ้อน, ทารกแรกเกิดปกติ ไม่มีปัญหาเรื่องการ
ดูดกลืน โดยให้ความรู้เรื่องกลไกการหลั่งของน้ำนม ปัญหาและอุปสรรคการสร้างน้ำนม อธิบายมารดาในในการให้นมแม่
ขนาดความจุของกระเพาะอาหาร สอนการนวดเต้านม , การบีบเก็บน้ำนม,การนำบุตรเข้าเต้าที่ถูกวิธี เมื่อมารดามีความรู้ที่
ถูกต้อง เกิดความมั่นใจ คลายความวิตกกังวล และใช้ Syringe ขนาด 5 CC ดูดนม 3-5 CC โดยต่อ Syringe เข้ากับสาย
Feeding tube วางตำแหน่งสายโดยให้ปลายสายชี้ไปในแนวเดียวกับหัวนมแม่ mark ตำแหน่งบริเวณลานนม ช่วยจัดท่าให้นม
บุตรอย่างถูกวิธี เพื่อให้บุตรสามารถดูดนมแม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งเสริมให้มีการสร้างน้ำนมที่ดี ใช้เวลาประมาณ
15-20 นาที แนะนำให้กระตุ้นนวดเต้านมทั้งสองข้าง และให้ทารกดูดเต้าบ่อยทุก 2-3 ชั่วโมง
การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง : ผลการประเมินพบว่า การใช้ Syringe with tube feeding กับมารดาหลังคลอด
24 ชั่วโมงแรกที่ยังไม่มีน้ำนม การช่วยมารดาวิธีนี้ทำให้มารดาเริ่มมีน้ำนม มีความพยายามในการเอาลูกดูดกระตุ้นบ่อยขึ้น และ
ทารกดูดได้อย่างสม่ำเสมอ ลดความวิตกกังวลในการให้นมบุตร และมารดามีความพึงพอใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้น
คิดเป็นร้อยละ 90
บทเรียนที่ได้รับ : ขนาดของ feeding tube ควรใช้ขนาด no. 5 เท่านั้น เพราะจะมีผลต่อการไหลของน้ำนม ถ้าขนาดใหญ่
มากเกินไปอาจทำให้นมไหลเร็วเกิดการสำลักน้ำนมได้ การใช้ syringe สื่อรัก สามารถนำใช้ในกรณีที่ทารกดูดนมได้ดี แต่
มารดายังคงน้ำนมไม่ไหล สามารถนำไปใช้ได้อย่างต่อเนื่องจนน้ำนมไหล
คำสำคัญ : syringe สื่อรัก