Page 166 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 166

162


               07-07  Poster Presentation

               ชื่อเรื่อง : หยุดมองสักนิด
               ผู้นำเสนอ : ปราญจิต ง่อยจันทร์      ตำแหน่ง:  พยาบาลวิชีพปฏิบัติการ
               E-mail : er_samrongthap@hotmail.com  เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4456 9125
               เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 08 3795 5653    ID line : er_samrongthap
               หน่วยงาน : งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์

               ความเป็นมาและความสำคัญ : ปัญหาการทิ้งวัตถุมีคมไม่ถูกที่เป็นปัญหาที่พบอย่างต่อเนื่องหน่วยงาน  ในปี 2560  พบใบมีด
               และเข็มเย็บแผลติดลงไปกับเครื่องมือในถังที่หน่วยงานส่งไปยังจ่ายกลาง  2 ครั้ง ปี 2561  2  ครั้ง  ปี 2562 เดือนธันวาคม  2
               ครั้ง และเดือน มกราคม 1  ครั้ง  แม้จะมีการทบทวนอุบัติการณ์และมีแนวทางแก้ไขออกมาใช้  โดยในปี 2561 ได้เพิ่มจุดทิ้ง
               ของมีคมอีก 1 จุด  และในเดือนธันวาคม พ.ศ.2561  ยังพบอุบัติการณ์ซ้ำ มีแนวทางเพิ่มคือหลังทำหัตถการให้ใช้มือหยิบ
               อุปกรณ์ที่ใช้แล้วแยกลงถังเครื่องมือ ห้ามเทอุปกรณ์จากถาดเครื่องมือ  ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ.2562 ยังคงพบอุบัติการณ์
               ซ้ำอีก 1 ครั้ง  ดังนั้นเพื่อให้บุคลากรในหน่วยงานทิ้งวัตถุมีคมได้ถูกที่และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน  ป้องกันอันตรายของการ
               เกิดอุบัติเหตุขณะทำงาน จากการที่ทิ้งของมีคมไม่ถูกที่  และมีความปลอดภัยในการทำงานทั้งตนเองและเพื่อนร่วมงาน  จึงมี
               การคิด CQI  หยุดมองสักนิด เพื่อให้ทุกคนปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน
               กิจกรรมการพัฒนา : ประชุมวิเคราะห์ปัญหา/ทบทวนแนวทางปฏิบัติในทิ้งเครื่องมือและวัตถุมีคม พร้อมกำหนดแนวทาง
               ปฏิบัติใหม่ ได้แก่
                    1.ติดป้าย “ อ๊ะ อ๊ะ เช็คดูก่อนนะจ๊ะ ของมีคม”  ไว้บริเวณถังทิ้งเครื่องมือที่สามารถ มองเห็นได้ชัดเจน
                    2.ผู้เตรียม set อุปกรณ์สำหรับทำหัตถการที่มีการใช้วัตถุมีคม เป็นผู้ทิ้งหรือเก็บอุปกรณ์ ( เตรียม/ทำ - ทิ้ง คนเดียวกัน )
                    3.ขานให้คนที่ทำหัตถการได้รับทราบว่าเพิ่มอะไรลงไปบ้างระหว่างการทำหัตถการ
                    4.หลังทำหัตถการมีการแยกอุปการณ์เครื่องมือและวัตถุมีคมทิ้งให้ถูกที่ โดยใช้มือหยิบอุปกรณ์ใส่ถัง แทนการเทจากถาด
                     ลงถังเครื่องมือ
                    5.มีการแจ้งเพื่อนร่วมงาน ถึงการทิ้ง โดยกล่าวว่า “ทิ้งเข็มแล้วนะครับ/ ค่ะ ” พร้อมให้เพื่อนร่วมงานตรวจสอบขณะทิ้ง
               การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง : ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – เดือนตุลาคม 2562 ยังไม่มีอุบัติการณ์วัตถุมีคมติดลงไป
               จ่ายกลาง
               บทเรียนที่ได้รับ :
                   1.ความร่วมมือ  การสื่อสาร และความตระหนักของเจ้าหน้าที่ในตึก ได้มีการประชุมชี้แจงปัญหาทำความเข้าใจ  และขอ
                     ความร่วมมือเจ้าหน้าที่ในตึกในการแยกเครื่องมือโดยทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรม
                   2. การแก้ปัญหาในหน่วยงาน เมื่อพบอุบัติการณ์เดิมซ้ำ ๆ ต้องมีการทบทวนหาแนวทางแก้ไขใหม่ๆ เพื่อเป็นการพัฒนา
                     อย่างต่อเนื่อง
                คำสำคัญ : วัตถุมีคม
   161   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171