Page 169 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 169

165


               07-10  Poster Presentation

               ชื่อเรื่อง : แบบบันทึกบาดแผลผู้ป่วยในพิเศษ
               ผู้นำเสนอ : กมลวรรณ ปวีณาภรณ์
               E-mail : kamonwan4732@gmail.com     เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4496 9042 ต่อ 6020
               เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 08 1976 4732
               หน่วยงาน : แผนกผู้ป่วยในพิเศษ  โรงพยาบาลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา

               ความเป็นมาและความสำคัญ : ในปี 2560 พบผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวในตึกพิเศษเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีบาดแผล ร้อยละ
               34.06 จากการศึกษาแนวปฏิบัติการบันทึกบาดแผลผู้ป่วยในพิเศษ พบว่า เมื่อรับใหม่ผู้ป่วยที่มีบาดแผลจะมีการส่งต่อข้อมูล
               ระหว่างแผนกระบุลักษณะแผลและตำแหน่งโดยบันทึกในใบตรวจรักษานอก (OPD card) และสื่อสารด้วยวาจา พยาบาลที่
               ได้รับมอบหมายหน้าที่ในแต่ละวันจะประเมินบาดแผลครั้งแรกร่วมกับแพทย์และส่งต่อข้อมูลด้วยวาจา เมื่อทำแผลแล้วจะลง
               บันทึกข้อมูลในบันทึกทางการพยาบาลในเวชระเบียนและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ พบอุบัติการณ์การทำแผลไม่ครบและต้องทำ
               แผลซ้ำ สูญเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น การบันทึกข้อมูลในแฟ้มเวชระเบียนและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ไม่ครอบคลุมทำให้การเรียก
               เก็บค่าใช้จ่ายไม่ตรงกับความเป็นจริง
               กิจกรรมการพัฒนา : 1. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบันทึกข้อมูลและการทำหัตถการบาดแผลแผนกผู้ป่วยในพิเศษ
               2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารการดูแลบาดแผลแผนกผู้ป่วยในพิเศษ วิธีการดำเนินการพัฒนา ดังนี้
                       1. สร้างแบบบันทึกบาดแผลโดยประยุกต์แบบบันทึกบาดแผลของแผนกผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินมาใช้ที่มีภาพร่างกาย
               ด้านหน้าและหลัง โดยเพิ่มภาพด้านข้างทั้งซ้ายและขวา และตารางบันทึกข้อมูลลักษณะ จำนวนบาดแผล หัตถการและ
               ค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน
                       2. นำไปใช้โดยประชุมชี้แจงกับทีมพยาบาลทุกคนที่มีส่วนร่วมในการให้บริการดูแลบาดแผลผู้ป่วยของแผนกผู้ป่วยใน
               พิเศษ
                       3. ประเมินและพัฒนาแบบบันทึกบาดแผล พบว่า พยาบาลพึงพอใจกับการใช้แบบบันทึกบาดแผล แต่รูปภาพที่จะ
               บันทึกบาดแผลไม่ครอบคลุมจึงปรับปรุงแบบบันทึกบาดแผลโดยเพิ่มรูปเท้าทั้งด้านหลังเท้า ฝ่าเท้า และด้านข้างให้ชัดเจนขึ้น
               ทำให้บันทึกได้ครอบคลุม สะดวกในการส่งต่อการดูแลบาดแผล
               การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง : พยาบาลมีความพึงพอใจแบบบันทึกบาดแผล ร้อยละ 100 เนื่องจากสามารถบันทึก
               บาดแผลได้สะดวก ชัดเจน ครอบคลุม และง่ายต่อการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยในการดูแลบาดแผลทำให้ไม่เกิดอุบัติการณ์การทำแผล
               ไม่ครบหรือซ้ำ สามารถเรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงเพิ่มขึ้นจากเดิม 77,890 บาท  เป็น 187,810 บาท คิด
               เป็นร้อยละ 141.12
               บทเรียนที่ได้รับ : ผู้ใช้มีความปลอดภัยในการใช้แบบบันทึกบาดแผล  นำไปใช้ในแผนกผู้ป่วยในทุกตึกกรณีผู้ป่วยมีบาดแผล
               คำสำคัญ : แบบบันทึกบาดแผลผู้ป่วยใน
   164   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174