Page 171 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 171

167


               07-12  Poster Presentation

               ชื่อเรื่อง : ถุงรองเลือด
               ผู้นำเสนอ : นิตยา  จาตูม
               E-mail : Oangca_Pa@hotmail.com      เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4485 9099 ต่อ706
               เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 08 2141 6575
               หน่วยงาน : โรงพยาบาลบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ

               ความเป็นมาและความสำคัญ : ภาวะตกเลือดหลังคลอดหมายถึง การมีเลือดออกทางช่องคลอดมากกว่าหรือเท่ากับ 500
               มิลลิลิตร ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรมที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญของมารดา
               ทั่วโลกถึงร้อยละ 25 โดยส่วนใหญ่การตกเลือดหลังคลอดมักเกิดจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี สาเหตุของการตกเลือดหลังคลอดที่
               สำคัญที่พบได้บ่อยคือ มดลูกหดรัดตัวไม่ดี  การฉีกขาดของช่องทางคลอด การมีเศษรกหรือรกค้าง และความผิดปกติของการ
               แข็งตัวของเลือด  มีปัจจัยเสี่ยงทั้งที่สามารถและไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้  ซึ่งภาวะตกเลือดจะเกิดขึ้นภายหลังการ
               คลอดทันทีหรือใน 1-2 ชม.แรกหลังคลอด ซึ่งจากภาวะตกเลือดจะส่งผลให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายขาดออกซิเจนและเสียสมดุล
               โดยเฉพาะสมองส่วนไฮโปทาลามัสและต่อมใต้สมองที่ส่งผลต่อฮอร์โมนที่สำคัญในระยะหลังคลอด  ถ้าได้รับการรักษาที่ล่าช้า
               จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ได้แก่ Sheehan’s syndrome  โลหิตจางรุนแรง  ช็อก ทุพพลภาพ และ เสียชีวิตได้
               นอกจากนี้การตกเลือดหลังคลอดยังส่งผลเสียต่อความสามารถของมารดาในการดูแลทารก  จากอุบัติการณ์รพ.บำเหน็จณรงค์
               ปีงบประมาณ 2559-2561 มีจำนวนการคลอดทางช่องคลอด 331 , 362 , 334 ราย และมีการตกเลือดหลังคลอด  คิดเป็น
               ร้อยละ 1.20 , 1.38 , 3.59 และตกเลือดร่วมกับมีภาวะช็อค ร้อยละ 0.30 , 0.27 , 0 ตามลำดับ  จากการทบทวนเวชระเบียน
               พบว่ามีอัตราการตกเลือดและมีภาวะ   ช็อคสูงขึ้น ทางโรงพยาบาลบำเหน็จณรงค์จึงได้ตระหนักถึงอันตรายและความรุนแรงที่
               จะตามมาจึงได้จัดทำถุงรองเลือดขึ้น
                กิจกรรมการพัฒนา :  1. ประชุมปรึกษาหารือและทบทวนภาวะตกเลือดในหน่วยงานร่วมกับสูติแพทย์
                       2. ทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับการประเมินน้ำหนักทารกในครรภ์
                       3. จัดทำนวัตกรรมถุงรองเลือด ดังนี้ 1) จากการทบทวนพบว่าถุงตวงเลือดอบแก๊สแข็ง และมีสเกลไม่แน่นอน
               2) จึงได้ยกเลิกใช้ถุงตวงเลือดแบบมีสเกล  และใช้เหยือกตวงเลือดแทนแต่เปลี่ยนวิธีใหม่เป็นเชื่อมเหล็กเป็นขาตั้งในการวาง
               เหยือกเพื่อตวงเลือด  และใช้ถุงรองเลือดโดยตรง 3) ติดสีเพื่อให้รู้ถึงระยะที่ต้องเฝ้าระวังและรายงานแพทย์
                       4. ทำ Active management ทุกราย
                       5. เมื่อมีการเสียเลือดถึงสเกลเส้นสีเขียว คือ 350 มิลลิลิตร หาสาเหตุและรีบให้การรักษา
                       6. รายงานแพทย์เพื่อดูแลมารดาหลังคลอดเมื่อเสียเลือด ที่ 450 มิลลิลิตร
               การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง : ตั้งแต่เดือนมิ.ย. – ส.ค. 62  มีจำนวนการคลอดทางช่องคลอด 17 , 12, 23 ราย
               และมีการตกเลือดหลังคลอด คิดเป็นร้อยละ 5.88, 0, 0.23 ตกเลือดร่วมกับมีภาวะช็อค ร้อยละ 0, 0, 0ตามลำดับ  ส่งผลให้
               มารดาที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอด ไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง สามารถดูแลตัวเองและทารกได้ บทเรียนที่ได้รับ : 1. การใช้
               ถุงรองเลือดใส่เหยือกตวงเลือดโดยตรงสามารถประเมินการสูญเสียเลือดได้ถูกต้องและเร็วขึ้น 2. มารดาตกเลือดหลังคลอด
               ได้รับการรักษาที่รวดเร็วและลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจากภาวะตกเลือดหลังคลอด
               คำสำคัญ : Postpartum Hemorrhage, Shock
   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176