Page 176 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 176
172
07-17 Poster Presentation
ชื่อเรื่อง : ไกลแค่ไหนก็อุ่นใจ...เก็บไว เตรียมครบ
ผู้นำเสนอ : วิไลพร พึ่งพรม ตำแหน่ง : พนักงานช่วยเหลือคนไข้
หน่วยงาน : ฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ
ความเป็นมาและความสำคัญ : ฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลภักดีชุมพลได้ออกหน่วยให้บริการอุดฟัน ขูดหินปูน ณ รพ.สต.ที่อยู่
ห่างไกลจากโรงพยาบาลประมาณ 30 กิโลเมตรเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนโดยเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ วัสดุ ครุภัณฑ์จาก
โรงพยาบาลจำนวน 147 รายการ ขนย้ายไปยังสถานที่ออกหน่วย ติดตั้ง เตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์เพื่อให้บริการและนำกลับมาโรงพยาบาล
พบปัญหาคือ ใช้เวลาเตรียมเครื่องมือที่โรงพยาบาลนาน เครื่องมือมีไม่ครบเนื่องจากไม่มีการตรวจสอบรายการเครื่องมือที่ต้องใช้ และ
เครื่องมืออยู่ปนกันไม่เป็นระเบียบ เวลาใช้งานหาเครื่องมือไม่เจอ
กิจกรรมการพัฒนา : เพื่อให้สามารถจัดเครื่องมือได้ครบถ้วนและเพื่อลดระยะเวลาการเตรียม/เก็บเครื่องมือ ณ สถานที่ออก
หน่วยลงร้อยละ 50 โดยแยกเครื่องมือ อุปกรณ์ วัสดุ จัดเก็บใส่กล่องพลาสติกที่มีขนาดเหมาะสมแยกตามประเภทงานและ
ลักษณะเครื่องมือ ดัดแปลงกล่องให้เหมาะสมกับเครื่องมือขนาดต่าง ๆ จากนั้นทำแบบฟอร์มรายการเครื่องมือออกหน่วย
ทั้งหมดตามกล่องที่ใช้บรรจุ เพื่อให้สามารถเตรียมเครื่องมือได้ครบถ้วน เป็นระเบียบ สะดวก
การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง : ภายหลังจากมีแบบฟอร์มเช็คเครื่องมือและปรับเปลี่ยนกล่องใส่เครื่องมือให้มีช่อง
ย่อยภายในทำให้ใส่เครื่องมือได้มีระเบียบขึ้น พบว่า การออกหน่วย 24 ครั้งต่อปี ในปี 2562 พบเครื่องมือไม่ครบ 3 ครั้งลดลง
จากเดิมที่เครื่องมือไม่ครบ 18 ครั้งในปี 2560 และ 10 ครั้งในปี 2561 ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดเครื่องมือในฝ่ายจากระยะเวลา
ที่เคยใช้จากเดิม 96.50 นาที ลดลงเหลือ 30.25 นาที คิดเป็นร้อยละ 68.65 ดังตาราง
ตาราง เปรียบเทียบระยะเวลาที่ใช้ก่อน-หลังการปรับปรุง และเป้าหมายของแต่ละขั้นตอน
ระยะเวลาที่ใช้ ก่อนการปรับปรุง หลังการปรับปรุง
ขั้นตอนที่ (นาที) 9 มค. 62 16 มค.62 เฉลี่ย 13 กพ.62 20 กพ.62 13 มีค.62 20 มีค.62 เฉลี่ย
จัดเครื่องมือในฝ่าย 106 87 96.50 33 30 30 28 30.25
เตรียมเครื่องมือ ณ สถานที่ 17 15 16 15 13 14 14 14
ออกหน่วย
เก็บเครื่องมือ ณ สถานที่ 14 12 13 12 11 10 11 11
ออกหน่วย
นอกจากนี้ยังส่งผลให้การเตรียมเครื่องมือ และการเก็บเครื่องมือ ณ สถานที่ออกหน่วยใช้เวลาเฉลี่ยลดลงแม้ว่าจะไม่แตกต่าง
จากก่อนการปรับปรุงมากนัก
บทเรียนที่ได้รับ : จากการใช้แบบฟอร์มตรวจสอบความครบถ้วน แต่ยังพบว่ามีการลืมเครื่องมือในบางครั้งเนื่องจากผู้ช่วยทันต
แพทย์หลายคนช่วยกันเตรียม ส่วนการปรับเปลี่ยนกล่องใส่เครื่องมือให้มีช่องย่อยขนาดพอดีกับเครื่องมือทำให้สามารถจัดเครื่องมือ
ออกหน่วยได้ครบถ้วนขึ้น และเร็วขึ้นกว่าก่อนการปรับปรุง
คำสำคัญ : เตรียม, เครื่องมือทันตกรรม, ออกหน่วย