Page 170 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 170

166


               07-11  Poster Presentation

               ชื่อเรื่อง : โปรแกรมติดตามและเฝ้าระวังผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงมะเร็งช่องปาก
               ผู้นำเสนอ : ธิดาทิพย์  ธีรกุลเดช
               E-mail : aimmyjelly@yahoo.com       เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4496 9042 ต่อ 7141
               เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 08 9780 3236    ID line : 0897803236
               หน่วยงาน : แผนกทันตกรรมสาธารณสุข โรงพยาบาลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา

               ความเป็นมาและความสำคัญ : แผนกทันตสาธารณสุขได้ดำเนินโครงการคัดกรองมะเร็งช่องปาก พบผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่มีรอย
               โรคในช่องปากที่ต้องติดตาม ในปี 2561 จำนวน 177 คน สามารถติดตามได้ 84 คน คิดเป็นร้อยละ 47 ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วน
               ใหญ่ไม่สะดวกในการเดินทางมารับการตรวจติดตามที่โรงพยาบาลปักธงชัย ทีมทันตสาธารณสุขจึงได้ลงไปติดตามเยี่ยมและเฝ้า
               ระวังผู้ป่วยกลุ่มนี้ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แต่ไม่สามารถเปรียบเทียบข้อมูลเดิมกับข้อมูลปัจจุบันได้ ทำให้การดูแล
               และติดตามเฝ้าระวังไม่ได้เท่าที่ควร จึงได้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยสนับสนุนระบบการติดตามเฝ้าระวังผู้ป่วยให้
               สามารถเชื่อมโยงข้อมูลผู้ป่วยระหว่างหน่วยบริการในพื้นที่กับโรงพยาบาลปักธงชัยได้ และยังใช้ในการส่งและรับเพื่อการรักษา
               เฉพาะทางได้อีกด้วย
                กิจกรรมการพัฒนา : เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการติดตาม เฝ้าระวัง และดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงมะเร็งช่องปาก
               โดยวิธีการดำเนินการพัฒนา ดังนี้
                       1. รวบรวมข้อมูลรายละเอียดที่จำเป็นในการบันทึกข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งช่องปาก
                       2. พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากระบบที่มีอยู่โดยสอบถามผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
                       3. ออกแบบรายงานเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ข้อมูลให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลผู้ป่วยในทุกระดับตั้งแต่ระดับ
               ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ โดยมีข้อมูลที่สำคัญ ดังนี้
                              3.1 ข้อมูลปัจจัยเสี่ยงของการเกิดรอยโรคในช่องปาก สภาวะช่องปากเบื้องต้นและข้อมูลลักษณะรอยโรคที่
               ตรวจพบ รูปภาพรอยโรคเพื่อเก็บข้อมูลประเมินเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของรอยโรคในช่องปาก ผลการตัดชิ้นเนื้อ ผล
               การวินิจฉัยรอยโรค และการให้การรักษาในแต่ละครั้ง ระยะเวลาในการติดตาม ประวัติการติดตามผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงมาตรวจ
               ประเมินรอยโรคในช่องปาก
                              3.2 ส่งข้อมูลปรึกษาทันตแพทย์เฉพาะทางเพื่อการรักษาที่เหมาะสม
                              3.3 ข้อมูลการนัดหมายผู้ป่วยในครั้งต่อไป
                       4. ประมวลผลข้อมูลการติดตามผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงมะเร็งช่องปาก เพื่อนำข้อมูลมาวางแผนติดตามเฝ้าระวังส่งต่อเพื่อรับ
               การรักษาผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
               การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง : ผลการติดตามผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงมะเร็งช่องปากเพิ่มขึ้นจาก ปี 2561 ร้อยละ 47 (84
               รายจากผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง 177 ราย) เป็นในปี 2562 ร้อยละ 58  (152 รายจากผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง 263 ราย)
               บทเรียนที่ได้รับ : มีรหัสสำหรับผู้ใช้โปรแกรม  เชื่อมโยงข้อมูลผู้ป่วยเพื่อการติดตาม เฝ้าระวัง และรักษามีประสิทธิภาพ
               เพิ่มขึ้น
               คำสำคัญ : โปรแกรมติดตามและเฝ้าระวัง, ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงมะเร็งช่องปาก
   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175