Page 37 - รวมเล่ม(2)
P. 37
เป็นสำหรับผู้ซึ่งปรารถนาความเจริญ คือ
อยากจะให้ข้าวในนาบริบูรณ์จึงเอาข้าวที่กำลัง
ท้องมาทำยาคูเลี้ยงพราหมณ์ และกวนข้าว
ปายาสเลี้ยงพราหมณ์....
ทำบุญสารท คือ ฤดูข้าวรวงเป็น
น้ำนมนี้แก่พราหมณ์ เมื่อการพระราชพิธีของ
ิ
พราหมณ์ตกข้าวมาในแผ่นดนสยาม ก็พลอยประพฤติตามลัทธิพราหมาณ์ด้วย สมคำซึ่งนาง
นพมาศได้กล่าวไว้ว่า เป็นฤดูที่ชนทั้งปวงกวนข้าวปายาส และทำยาคูเลี้ยงพราหมณ์ เมื่อ
ั้
สมณะพราหมณ์เป็นคู่กันเช่นนน ผู้ซึ่งนับถือพระพุทธศาสนาในชั้นแรกที่เข้าใหม่เคยถือ
พราหมณ์เดิมได้ทำบุญตามฤดูกาลแก่พราหมณ์เดิมมาอย่างไร ครั้นเมื่อมาเข้านับถือพุทธ
ศาสนาแล้ว เมื่อถึงกำหนดที่ตัวเคยทำบุญ ผู้ใดละเลยจะนิ่งเสียไม่ทำ เมื่อเชื่อว่าพระพุทธเจ้า
และพระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญอันวิเศษยิ่งขึ้นไปกว่าพราหมณ์ ก็ต้องมาถวายพระสงฆ์เหมือน
เช่นเคยทำอยู่แก่พราหมณ์ ถ้าผู้ใดจละทิ้งศาสนาพราหมาณ์เดิมของตัวให้ขาดไม่ได้ เพราะ
ความเกรงใจก็ลงเป็นทำทั้งสองฝ่าย ถวายทานแก่สมณะด้วยพราหมณ์ด้วย..... พิธีสารท
เป็นพระราชพิธีซึ่งทำกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เรียกว่า พิธีภัทรบทมาส ปรากฏในตำราท้าว
ิ่
ศรีจุฬาลักษณ์ อาหารที่ทำเนื่องในพิธีสารทที่ถูก คือ ข้าวทิพย์ สงของที่ใช้กวน มีถั่ว งา
สาคู ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวเม่า มันเทศ กระจับ แห้ว ข้าวสา ลูกบัว เมล็ดกล่ำ น้ำนมโค
น้ำผึ้ง น้ำอ้อย มะพร้าวอ่อน และชะเอม มากวน ให้เข้ากันโดยให้หญิงสาวพรมจารึกวนและ
นำไปถวายพระแจกให้ประชาชน เพราะถือว่ากินแล้วสวัสดิมงคลระงับโรคภัยไข้เจ็บได้จากการ
ทำบุญสารทนี้สมัยโบราณยังนยมถวายของ ๕ อย่าง แด่พระภิกษุเกิดจากอาพาธขึ้นชนด
ิ
ิ
หนึ่ง เรียกว่า สารททิกาพาธ แปลว่า ใช้ในฤดูสารทอากรมีฉันจังหันแล้วอาเจียน ทำให้
ร่างกายซูบผอมต่อมาเนยใสและเนยข้นหามิได้จึงมีการถวาย น้ำผึ้ง เรียกว่าตักบาตรน้ำผึ้ง
ซึ่งในปัจจุบันได้ล้มเลิกไปจึงมีการตักบาตรข้าวสารแทน
สงกรานต์ เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า ผ่าน
หรือเคลื่อนย้ายไปวันสงกรานต์เราถือว่าเป็น
วันขึ้นปีใหม่ของไทย ซึ่งกำหนดตามสุริยกติจะ
เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๓-๑๔-๑๕ เมษายน
วันที่ ๑๓ เราถือว่าเป็นวันมหาสงกรานต์
วันที่ ๑๔ เป็นวันเนาเป็นวันที่อยู่เฉยๆเป็นวัน
ว่างเนาเป็นคำเขมร แปลว่าอยู่