Page 219 - ทักษะการเรียนรู้ ม.ปลาย
P. 219

210


                       บทสรุป

                       คนเราเมื่อเกิดมามีชีวิต มีการท างาน สัมพันธ์ติดต่อกับคนอื่น ๆ ในสังคมที่มีความแตกต่างกัน
               อย่างหลากหลาย การเผชิญกับปัญหาก็เป็นธรรมชาติหนีไม่พ้น คนจึงต้องมีสติ มีสมาธิ เพื่อให้เกิดปัญญา

               ในการแสวงหาข้อมูลที่หลากหลายและเพียงพอมาใช้ประกอบการคิด การแก้ปัญหาเหล่านั้นให้ลุล่วงไป

               สภาพสังคมไทยปัจจุบันเป็นยุคโลกาภิวัตน์ ความเจริญทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารถึงกันทั่วโลก ใน

               ระยะเวลาอันสั้น ส่งผลให้เยาวชนและประชาชนเกิดการรับรู้ข่าวสาร ศิลปวัฒนธรรม รูปแบบการด ารงชีวิต
               ของเพื่อนร่วมโลก และรับมาเป็นตัวแบบในการด ารงชีวิตของตน โดยไม่มีการไตร่ตรองปรับแต่งให้

               สอดคล้องกับวัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อของไทยเราเอง ขาดการวิเคราะห์ถึงความเป็นมา และแนว

               ปฏิบัติที่แท้จริงของเขา ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านวัฒนธรรมและวิถีชีวิต กระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน
               เป็นอันมาก เช่น ปัญหาการท างานที่ไม่โปร่งใสของผู้มีอ านาจ การทุจริตคอรัปชั่นเชิงนโยบายในวงราชการ

               ปัญหาขายบริการทางเพศของนักศึกษา ปัญหาการพนันบอล ปัญหาติดยา ปัญหาหนี้นอกระบบ ครอบครัว

               แตกแยก ปัญหาการแต่งงานก่อนวัยอันควร ปัญหาการหย่าร้างบ่อยครั้ง ปัญหาเด็กซิ่ง เด็กแว้น ปัญหา
               โรคเอดส์ ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการหย่อนทางด้านคุณธรรม จริยธรรมของประชาชนในชาติที่

               ต้องแก้ไขอย่างรีบด่วน คุณธรรมจริยธรรมหลายเรื่อง จึงมีความส าคัญต้องน ามาเป็นข้อมูลประกอบการคิด

               การตัดสินใจของคนคิดเป็นมากขึ้น ทั้งการน ามาเรียนรู้ น ามาฝึกพัฒนาบุคลากร น ามาปฏิบัติเพื่อป้ องกันและ
               แก้ไขปัญหา อย่างไรก็ตาม คุณธรรมและจริยธรรมก็เป็นเรื่องของบริบทของแต่ละชุมชนที่ไม่เหมือนกัน การ

               น าคุณธรรมจริยธรรมไปใช้ในการคิดการแก้ปัญหาของคนคิดเป็นจึงต้องใช้วิจารญาณไตร่ตรอง พัฒนาให้

               เหมาะสมกับบริบทของชุมชนและวัฒนธรรมของชุมชนด้วย


               ตัวอย่างคุณธรรม จริยธรรมที่ใช้ประกอบการคิดการแก้ปัญหาแบบคนคิดเป็น

               สังคหวัตถุ 4

                       1.  ทาน ได้แก่ การให้ปัน ซึ่งมีทั้งอามิสทาน ธรรมทาน และอภัยทาน
                       2.  ปิยวาจา ได้แก่ การพูดจาอ่อนหวาน อ่อนน้อม ถ่อมตนให้เกียรติผู้อื่น

                       3.  อัตถจริยา การรู้จักช่วยเหลือเจือจุน ไม่นิ่งดูดายท าตนให้เป็นประโยชน์

                       4.  สมานัตตตา ได้แก่ การวางตนให้สม ่าเสมอ เหมาะสมเสมอต้นเสมอปลาย
               ธรรมเพื่อการบริหาร

                      1.  ปัญญาพละ ได้แก่ ก าลังความรู้

                      2.  วิริยพละ ได้แก่ ก าลัง ความเพียร
                      3.  อนวัชชพละ ได้แก่ ก าลังความดี ความซื่อสัตย์

                      4.  สังคหพละ ได้แก่ ก าลังสงเคราะห์ ช่วยเหลือ

               ธรรมสุภาษิตส าหรับชาวบ้าน  เป็นคุณธรรมจริยธรรมที่คนในสมัยโบราณใช้อบรมสั่งสอนลูกหลาน

               ในรูปของสุภาษิตสอนใจ ส่วนใหญ่จะเน้นค าร้อยกรอง เพราะคนไทยมักจะเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน
               เป็นภาษาง่าย ๆ แต่ลึกซึ้งในความงามและความหมาย ตัวอย่างเช่น
   214   215   216   217   218   219   220   221   222   223   224