Page 215 - ทักษะการเรียนรู้ ม.ปลาย
P. 215
206
3.2 คุณธรรมจริยธรรมในระดับบุคคล มีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
1. ด้านความเป็นเหตุเป็นผล (Moral Reasoning) คือ ความเข้มแข็งทางจิตใจในเหตุผล
ของความถูกต้องดีงาม สามารถตัดสินแยกความถูกต้องออกจากความไม่ถูกต้องได้ด้วยการคิด
2. ด้านความเชื่อและทัศนคติ (Moral Attitude and Belief) คือ ความพึงพอใจ ศรัทธา
เลื่อมใส ความนิยมยินดีที่จะรับจริยธรรมมาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ
3. ด้านพฤติกรรม (Moral Conduct) คือ การกระท าหรือการแสดงออกของบุคคล
ในสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากอิทธิพลของสององค์ประกอบข้างต้น
4. คุณธรรม จริยธรรมเพื่อการคิดแก้ปัญหา
4.1 คุณธรรม จริยธรรม 4 ประการ ตามแนวทางพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จ
พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9)
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ทรงมีพระราชด ารัสในพระ
ราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพามหากษัตริยาธิราชเจ้า เมื่อวันที่ 5 เมษายน พุทธศักราช 2525 ความว่า
“...คุณธรรมที่ทุกคนควรจะศึกษาและน้อมน ามาปฏิบัติ มีอยู่สี่ประการ
1) คือ การรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตัวเองที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์
และเป็นธรรม
2) คือ การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกฝนตนเอง ให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจความดีนั้น
3) คือ การอดทน อดกลั้น และอดออมที่จะไม่ประพฤติล่วง ความสัจสุจริต ไม่ว่าด้วยเหตุ
ประการใด
4) คือ การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตน เพื่อ
ประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง คุณธรรมสี่ประการนี้ ถ้าแต่ละคนพยายามปลูกฝังและบ ารุงให้เจริญงอก
งามขึ้นโดยทั่วถึงกัน จะช่วยให้ประเทศชาติบังเกิดความสุข ความร่มเย็น และมีโอกาสที่จะปรับปรุงพัฒนา
ให้มั่นคงก้าวหน้าต่อไปดังประสงค์...”
พระบรมราโชวาทเรื่องคุณธรรม 4 ประการนี้ สอดคล้องกับหลักพุทธธรรมในเรื่อง
ฆราวาสธรรม 4 คือ
1) สัจจะ มีความจริงใจต่อตนเองที่จะรักษาสัจจะที่ให้ไว้กับตน
2) ทมะ การรู้จักข่มใจตนเองที่จะปฏิบัติตามสัจจะที่ก าหนด
3) ขันติ มีความอดทนอดกลั้นที่จะปฏิบัติตามสัจจะนั้นให้ส าเร็จลุล่วง
4) จาคะ การสละความชั่วความทุจริตตามสัจจะนั้น ๆ
4.2 คุณธรรมตามแนวคิดของอริสโตเติล ซึ่งอริสโตเติลนักปราชญ์ชาวกรีก ได้ให้แนวทางของ
คุณธรรมหลัก ๆ ไว้ 3 ประการ คือ
1) ความรอบคอบ คือ รู้ว่าอะไรควรประพฤติปฏิบัติ อะไรไม่ควรประพฤติปฏิบัติ
2) ความกล้าหาญ คือ ความกล้าเผชิญต่อความเป็นจริง