Page 212 - ทักษะการเรียนรู้ ม.ปลาย
P. 212

203


               ข้อมูลเพื่อการคิดเป็น

                       การคิดการตัดสินใจแก้ปัญหาตามแนวทางของ “การคิดเป็น” นั้น กระบวนการส าคัญ คือ การใช้
               ข้อมูลอย่างน้อย 3 ประการมาประกอบการคิดการตัดสินใจ ข้อมูล 3 ประการดังกล่าวได้แก่ ข้อมูลด้านวิชาการ

               ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง และข้อมูลเกี่ยวกับสังคม สิ่งแวดล้อม ลักษณะของข้อมูลทั้ง 3 ประการดังกล่าว อาจ

               สรุปเป็นตัวอย่างได้ดังต่อไปนี้

                       ข้อมูลเกี่ยวตนเอง
                       พื้นฐานของชีวิต ข้อมูลภายในครัวเรือน อาชีพ ญาติพี่น้อง ครอบครัว ความสัมพันธ์ ทัศนคติ ทัศนะ

               ที่เกี่ยวข้อง ความสามารถส่วนบุคคล ความเชื่อ นิสัยใจคอ อารมณ์ บุคลิกภาพ คุณธรรม และพฤติกรรม

               สภาพภายในภายนอกของตนเอง เป็นต้น
                       ข้อมูลทางวิชาการ

                       หลักวิชาการด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทั้งที่ศึกษาจากทฤษฎี เอกสาร ต าราของทุกศาสตร์

               ทุกสาขาวิชา ที่เรียนรู้จากนักปราชญ์ ผู้รู้ ภูมิปัญญา จากธรรมชาติ ผลงานวิจัย กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ

               เทคโนโลยีสารสนเทศ ธรรมะ ข้อมูลทางอาหารและยา และการวินิจฉัยของแพทย์ ข้อมูลทางการเกษตร ฯลฯ
                       ข้อมูลทางสังคมสิ่งแวดล้อม

                       ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคม วัฒนธรรมจารีตประเพณี ข้อมูลพื้นฐานบริบททางสังคม

               ชุมชน การปกครอง อนามัย กิจกรรมของชุมชน สภาพการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติ โรงเรือน บ้าน วัด

               มัสยิด แหล่งเรียนรู้ ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่เกี่ยวข้องรอบ ๆ ข้าง
               การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อน ามาใช้ประกอบการตัดสินใจ

                       การวิเคราะห์ข้อมูล

                       การวิเคราะห์ข้อมูล หมายถึง การแยกแยะข้อมูลหรือส่วนประกอบของข้อมูลออกเป็นส่วนย่อย ๆ
               ศึกษารายละเอียดของข้อมูลแต่ละเรื่องเพื่อตรวจสอบข้อมูลให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะข้อมูลการคิดเป็นทั้ง

               3 ประการว่า แต่ละด้านมีข้อมูลอะไรบ้าง เป็นการหาค าตอบว่า ใคร ท าอะไร ที่ไหน อย่างไร ฯลฯ

               การวิเคราะห์ข้อมูลจะมีการศึกษาและตรวจสอบข้อมูลรอบด้านทั้งด้านบวกและด้านลบ ดูความหลากหลาย
               และพอเพียงเพื่อให้ได้ข้อมูลที่แม่นย า เที่ยงตรง เชื่อถือได้ สมเหตุสมผล การวิเคราะห์ข้อมูลมีประโยชน์

               ตรงที่ท าให้เราสามารถเข้าใจเรื่องราวปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่แท้จริง ช่วยให้มีการแสวงหาข้อมูลหลากหลาย

               โดยไม่เชื่อค าบอกเล่าหรือค ากล่าวอ้างของใครง่าย ๆ เป็นการมองข้อมูลหลากหลายมิติ เกิดมุมมองเชิงลึก

               และกว้าง เพียงพอ ครบถ้วน
                       การสังเคราะห์ข้อมูล

                       เป็นการน าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ถูกต้อง ใกล้เคียง กลุ่มเดียวกันมารวบรวม จัดกลุ่ม จัดระบบ เป็นกลุ่ม

               ใหญ่ ๆ ในเชิงบูรณาการโดยเฉพาะน าข้อมูลการคิดเป็นทั้ง 3 ด้าน คือ ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลเกี่ยวกับ

               ตนเอง และข้อมูลที่เกี่ยวกับสังคมสิ่งแวดล้อม ที่วิเคราะห์แม่นย า เที่ยงตรง หลากหลายและพอเพียงทั้งด้าน
               บวกและลบไว้แล้วมาจัดกลุ่มทางเลือกในการแก้ปัญหาที่เป็นข้อมูลเชิงบูรณาการ ข้อมูลทั้ง 3 ด้าน หลาย ๆ
   207   208   209   210   211   212   213   214   215   216   217