Page 213 - ทักษะการเรียนรู้ ม.ปลาย
P. 213

204


               ทางเลือก โดยแต่ละทางเลือกจะมีข้อมูลทั้ง 3 ด้านมาสังเคราะห์รวมเข้าไว้ด้วยกันเพื่อให้เป็นทางเลือกในการ

               ตัดสินใจ เลือกทางเลือกที่เหมาะสมเป็นที่ยอมรับและพอใจที่สุดน ามาแก้ปัญหาต่อไป


               เรื่องที่ 4  คุณธรรม จริยธรรม : องค์ประกอบที่ส าคัญของการคิดแก้ปัญหาแบบคนคิดเป็น


                      1.  ความหมายของคุณธรรมและจริยธรรม
                       คุณธรรม (Moral) คือ คุณ + ธรรม หมายถึง คุณงามความดีที่เป็นธรรมชาติก่อให้เกิดประโยชน์

               ต่อตนเองและสังคม ซึ่งรวมสรุปว่า คือ สภาพคุณงาม ความดี

                       คุณธรรม คือ ความดีงามในจิตใจที่ท าให้บุคคลประพฤติดี ผู้มีคุณธรรมเป็นผู้มีความเคยชินในการ
               ประพฤติดีด้วยความรู้สึกในทางดีงาม คุณธรรมเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับกิเลส ซึ่งเป็นความไม่ดีในจิตใจ ผู้มี

               คุณธรรมจึงเป็นผู้ไม่มักมากด้วยกิเลส ซึ่งจะได้รับการยกย่องว่าเป็นคนดี

                       ดวงเดือน พันธุนาวิน (2543 : 115) ได้ให้ความหมายของคุณธรรมในแง่สิ่งดีงามไว้ว่า หมายถึง สิ่งที่

               บุคคลยอมรับว่าเป็นสิ่งดีงาม มีประโยชน์มาก มีโทษน้อย คุณธรรมในแต่ละสังคมอาจต่างกันขึ้นอยู่กับ
               วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ศาสนาและการศึกษาของคนในสังคมนั้น ๆ

                       พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2546 : 190) ได้ให้ความหมายของคุณธรรมไว้ในแบบ เดียวกันว่า

               เป็นสภาพคุณงามความดี ส่วนธวัชชัย ชัยจิรฉายากุล และวราพรรณ น้อยสุวรรณ กล่าวถึงคุณธรรมในทาง
               พุทธศาสนาว่า หมายถึง ความรัก ความรู้คิด

                       สรุปแล้ว คุณธรรม หมายถึง สิ่งที่สังคมยอมรับว่าเป็นสิ่งดีงามที่เกิดจากส่วนร่วมของการศึกษา

               การปฏิบัติ ฝึกอบรม และการกระท าจนเคยชินเกิดเป็นลักษณะนิสัย เป็นสิ่งที่มีคุณประโยชน์ ต่อตนเองต่อ
               ผู้อื่นและต่อสังคม

                       จริยธรรม (Ethics) คือ จริย ได้แก่ ความประพฤติ + ธรรมะ ได้แก่ หลักปฏิบัติ หมายถึง หลักแห่ง

               ความประพฤติหรือแนวทางของการประพฤติ มีผู้ให้ความหมายของค าว่า จริยธรรมไว้หลายทัศนะ เช่น ดวง
               เดือน พันธุมนาวิน (2543 :  113) กล่าวว่า จริยธรรม หมายถึง ระบบการท าความดี ความชั่ว พระธรรมปิฎก

               (2546 : 7) กล่าวว่า จริยธรรมเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ของชีวิตกับสิ่งแวดล้อมทางสังคมและวัตถุ เป็นเรื่อง

               ของจิตใจและเป็นเรื่องของปัญญา ความรู้ ความคิด พนัส หันนคินทร์ อ้างใน ธวัชชัย  ชัยจิรฉายากุล และ

               วราพรรณ น้อยสุวรรณ (2546 : 69) อธิบายว่า จริยธรรม หมายถึง ความประพฤติที่ปฏิบัติตามหลักจริยธรรม
               จะต้องประกอบด้วยกันทั้งการปฏิบัติทางกายและความรู้สึกทางใจสอดคล้องกัน

                       ดังนั้น ความหมายของจริยธรรมโดยรวมจะเห็นตรงกันว่า เป็นสิ่งที่เชื่อกันว่า เป็นความดีงามที่ควรยึด

               เป็นหลักในการประพฤติ ปฏิบัติต่อตนเอง ต่อผู้อื่นและต่อสังคม ทั้งการกระท าด้วยกายและตระหนักด้วยใจ

                       จากการให้ความหมายของคุณธรรม และจริยธรรมในหลายทัศนะนี้ จะเห็นได้ว่า แม้ความหมายของ
               คุณธรรม และจริยธรรมจะแตกต่างกัน แต่ก็มีความหมายใกล้เคียงและสัมพันธ์กัน และบางคนก็ใช้ควบคู่

               กันไปเป็นคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งหมายถึง การกระท าหรือการประพฤติปฏิบัติที่ดีที่ปลูกฝังอยู่ในอุปนิสัย

               อันดีงามของคน ตลอดจนความรู้สึกนึกคิดที่ถูกต้อง ซึ่งอยู่ในจิตส านึกความรับผิดชอบชั่วดีของบุคคลนั้น ๆ
   208   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218