Page 217 - ทักษะการเรียนรู้ ม.ปลาย
P. 217

208


                           7) สามัคคี คือ ช่วยเหลือรับฟัง เกื้อกูลทั้งความคิดเห็นของผู้อื่นและตนเองอย่างมีเหตุผล

                           8) มีน ้าใจ คือ อาสาช่วยเหลือสังคม รู้จักแบ่งปัน เสียสละ เห็นอกเห็นใจผู้อื่น เห็นคุณค่าของ
               เพื่อนมนุษย์ เอื้ออาทรต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยแรงกายและสติปัญญา ร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีงามแก่สังคม และ

               ชุมชน

                           4.6 คุณธรรมที่ใช้ในการแก้ปัญหาชีวิต

                       คุณธรรมที่ใช้ในการแก้ปัญหาชีวิต ได้แก่ อริยสัจ 4 หมายถึง ความจริงอันประเสริฐ 4  ประการ
               ในการด าเนินชีวิตของบุคคลหรือการท างานในกิจการต่าง ๆ มักจะประสบกับปัญหาและอุปสรรค

               นานาประการ ซึ่งถ้ามีหลักธรรมต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้วเป็นหลักยึดเพื่อการประพฤติปฏิบัติ บุคคลผู้นั้นก็

               ย่อมจะผ่านอุปสรรคต่าง ๆ ไปได้ และประสบความส าเร็จในท้ายที่สุด สาระส าคัญยิ่งของอริยสัจ 4  มีดังนี้
                           1) ทุกข์ คือ ความไม่สบายกายไม่สบายใจที่เกิดขึ้น เนื่องจากสาเหตุนานาประการ

                           2) สมุทัย คือ เหตุที่ท าให้เกิดทุกข์ ซึ่งเกิดจากตัณหาทั้งหลาย

                           3) นิโรธ คือ ความดับทุกข์ โดยการดับตัณหาให้หมดจะเป็นภาวะที่ปลอดทุกข์
                           4) มรรค คือ วิถีทางในการดับทุกข์ ได้แก่ ข้อปฏิบัติต่าง ๆ ที่ท าให้ทุกข์หมดไป นั่นคือ

               อริยมรรค 8 ประการ

               ส าหรับนักศึกษาสามารถน าหลักธรรมดังกล่าวไปใช้แก้ปัญหา ดังนี้
                       ทุกข์ คือ สภาพที่เราขาดความสุขทนไม่ได้ มันท าให้เราว้าวุ่น ทุกข์จึงเป็นปัญหา

                       สมุทัย คือ สาเหตุของปัญหา อะไรท าให้เราว้าวุ่นใจ อะไรท าให้เราวิตกกังวล

                       นิโรธ คือ แนวทางแก้ไข ลองนั่งนึกว่าจะแก้ไขเรื่องที่ว้าวุ่นได้อย่างไร หาหลาย ๆ แนวทาง ลองนั่ง

               เขียนเป็นข้อ ๆ แยกแยะข้อดีข้อเสีย
                       มรรค คือ แนวทางปฏิบัติในเชิงพฤติกรรมที่เป็นไปได้ที่จะไม่ให้เกิดปัญหาอีก

                   5.  แนวทางการพัฒนาบุคลากรด้านคุณธรรมจริยธรรม

                       เพื่อให้การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงได้มีการก าหนดคุณลักษณะ

               ของผู้มีคุณธรรมจริยธรรมไว้ ดังนี้
                      1. เป็นผู้ที่มีความเพียรพยายามประกอบความดี ละอายต่อการปฏิบัติชั่ว

                      2. เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม และมีเมตตากรุณา

                      3. เป็นผู้มีสติปัญญา รู้ตัวอยู่เสมอ ไม่ประมาท
                      4. เป็นผู้ใฝ่หาความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพ เพื่อความมั่นคง

                      5. เป็นผู้ที่รัฐสามารถอาศัยเป็นแกนหรือฐานให้กับสังคม ส าหรับการพัฒนาใด ๆ ได้

                      แนวทางการพัฒนาคุณภาพและจริยธรรมที่ก าหนดโดยรัฐบาล จากคุณสมบัติของผู้มีจริยธรรม
               ดังกล่าว แสดงถึงความเป็นคนมีคุณภาพ มีภาวะความเป็นผู้น า อันเป็นที่ต้องการขององค์การและสังคม

               ทุกระดับ รัฐบาลไทยได้เห็นความส าคัญของการพัฒนาคุณภาพของประชาชนในด้านจริยธรรมและ

               คุณธรรมในสังคม จึงได้บรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยเน้นการพัฒนาจิตใจใน
               ลักษณะที่สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน ซึ่งผลที่ปรากฏในปัจจุบันก็คือ
   212   213   214   215   216   217   218   219   220   221   222