Page 214 - ทักษะการเรียนรู้ ม.ปลาย
P. 214

205


               อันเป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งและควบคุมความประพฤติของบุคคลที่แสดงออกเพื่อให้บรรลุในสิ่งที่ปรารถนา เช่น

               ความซื่อสัตย์ ความสามัคคี ความมีวินัย ความกตัญญู และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นต้น

                      2.  ความส าคัญของคุณธรรมและจริยธรรม
                      สภาพสังคมไทยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้ง

               ความเจริญทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารที่สามารถสื่อสารกันทั่วทั้งโลกภายในระยะเวลาอันสั้น ส่งผลให้

               ประชาชนและเยาวชนเกิดการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี รูปแบบ
               การด ารงชีวิตของเพื่อนร่วมโลก แล้วถือเป็นตัวแบบในการด ารงชีวิตของตน โดยขาดการคิดวิเคราะห์ถึง

               ความเป็นมาและเหตุผลที่แท้จริงอย่างถูกต้อง ซึ่งปรากฏอยู่ในสังคมปัจจุบัน และส่งผลกระทบต่อคุณภาพ

               การทุจริตคอรัปชั่นในวงการราชการ การทุจริตในการสอบเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ โดยใช้
               เทคโนโลยีที่ทันสมัยเป็นเครื่องมือ รวมทั้งปัญหาการขายบริการทางเพศของนิสิตนักศึกษา เป็นต้น

               ซึ่งปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการหย่อนยานทางด้านคุณธรรม จริยธรรมของประชาชนในชาติ

               เป็นอย่างมาก และควรที่จะได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
                      คุณธรรมและจริยธรรมมีความส าคัญมาก เพราะเป็นรากฐานของความเจริญรุ่งเรืองของสังคม

               และเป็นสิ่งที่ก าหนดความเจริญและความล่มสลายของสังคม ดังนั้น ผู้บริหารประเทศ และผู้ที่เกี่ยวข้องต้อง

               ตระหนักและเล็งเห็นความส าคัญในการที่จะแก้ปัญหา เร่งพัฒนาจิตใจและพฤติกรรมของบุคคลในทุก
               ระดับชั้นร่วมกันหาแนวทางในการแก้ปัญหาคุณธรรมและจริยธรรมในสังคม และหาทางปลูกฝังให้บุคคล

               ในสังคมมีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้บุคคลสามารถที่จะด ารงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

                      3.  องค์ประกอบของคุณธรรม จริยธรรม

                           3.1 องค์ประกอบของคุณธรรมในระดับองค์กร จริยธรรมเป็นเครื่องมือก าหนดหลักปฏิบัติ

               ในการด ารงอยู่ขององค์กร แนวทางในการอยู่ร่วมกันอย่างสงบเรียบร้อยประกอบด้วยองค์ประกอบ
               ดังต่อไปนี้

                            1. ระเบียบวินัย (Discipline) เป็นองค์ประกอบส าคัญยิ่ง การหย่อนยานระเบียบวินัย เป็นการ

               ละเมิดสิทธิและหน้าที่ตามบทบาทของแต่ละคน
                            2. สังคม (Society) การรวมกลุ่มกันประกอบกิจกรรมอย่างมีระเบียบแบบแผน ก่อให้เกิด

               ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม มีวัฒนธรรมอันเป็นความมีระเบียบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดี ของ

               ประชาชน
                            3. อิสระเสรี (Autonomy) ความมีส านึกในมโนธรรมที่พัฒนาเป็นล าดับก่อให้เกิดความอิสระ

               สามารถด ารงชีวิตจากสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษา และประสบการณ์ในชีวิต มีความสุข อยู่ในระเบียบวินัย

               และสังคมของตน เป็นค่านิยมสูงสุดที่คนได้รับการขัดเกลาแล้วสามารถบ าเพ็ญตนตามเสรีภาพเฉพาะตน
               ได้อย่างอิสระสามารถปกครองตนเอง และชักน าตนเองให้อยู่ในท านองครองธรรม
   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218   219