Page 55 - แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป.3 เทอม 2
P. 55

9. ภาระงาน/ชิ้นงาน (Products /Assignments )

                   1. ใบกิจกรรมที่ 5.3 เรื่อง แรงแม่เหล็ก

               10. กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Activities)
                   จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Process) ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้


                     ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)
                     1.นักเรียนร่วมกันสนทนาทบทวนประสบการณ์เกี่ยวกับแรงที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันแล้วร่วมกัน

               บอกว่า นักเรียนรู้จักแรงใดบ้างในชีวิตประจำวัน จากนั้นเขียนคำตอบในแบบแผนภาพความคิดในกระดาษที่
               ได้รับแจก
                   2. นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยร่วมกันตอบคำถามสำคัญกระตุ้นความคิด ดังนี้
                     - นักเรียนรู้จักแรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัสหรือไม่
                 (ตัวอย่างคำตอบ รู้จัก/ไม่รู้จัก)

                     - แรงสัมผัสคืออะไร
                   (ตัวอย่างคำตอบ แรงสัมผัส คือ การออกแรงที่เกิดจากวัตถุหนึ่งกระทำกับอีกวัตถุหนึ่ง โดยวัตถุทั้งสอง
               ต้องสัมผัสกัน)

                   - แรงไม่สัมผัสคืออะไร
                   (ตัวอย่างคำตอบ แรงไม่สัมผัส คือ การออกแรงที่เกิดจากวัตถุหนึ่งกระทำกับอีกวัตถุหนึ่ง โดยวัตถุทั้งสอง
               ไม่ต้องสัมผัสกัน)

                   ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration)

                       1. นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน คละนักเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน
                       2. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันทำกิจกรรมที่ 5.3 เรื่อง แรงแม่เหล็ก และบันทึกผลการทำกิจกรรม


                     ขั้นอธิบายและลงขอสรุป (Explanation)
                                     ้
                      1. นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการทำกิจกรรมหน้าชั้นเรียน เพื่อเปรียบเทียบและตรวจสอบความ
               ถูกต้อง
                      2.  นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ อภิปราย และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการทำกิจกรรม โดย

               ตอบคำถามหลังทำกิจกรรม ดังนี้
                       -  แม่เหล็กออกแรงกระทำต่อวัตถุหรือไม่ อย่างไร
                      (ตัวอย่างคำตอบ แม่เหล็กออกแรงดึงดูดลวดเสียบกระดาษเท่านั้น)

                      -   แรงแม่เหล็กที่กระทำต่อวัตถุ จำเป็นต้องสัมผัสแม่เหล็กกับวัตถุหรือไม่
                      (ตัวอย่างคำตอบ  ไม่จำเป็น)
                      - แรงแม่เหล็กแตกต่างจากแรงดึงวัตถุหรือไม่ อย่างไร
                      (ตัวอย่างคำตอบ  แตกต่าง แรงแม่เหล็กทำให้วัตถุเคลื่อนไหวได้โดยไม่ต้องสัมผัสกับวัตถุนั้น)
                      -  ถ้าต้องการให้ไม้จิ้มฟันเคลื่อนไหว จะทำอย่างไร

                      (ตัวอย่างคำตอบ  ขยับบีกเกอร์ให้เคลื่อนไหว เป่าลมเข้าไปในบีกเกอร์ ใช้มือเขี่ยไม้จิ้มฟัน)
                      -   แรงที่ทำให้ไม้จิ้มฟันเคลื่อนไหวแตกต่างจากแรงที่แม่เหล็กกระทำต่อลวดเสียบกระดาษหรือไม่
               อย่างไร

                                                                                ื่
                      (ตัวอย่างคำตอบ แตกต่างกัน คือ แรงที่กระทำต่อไม้จิ้มฟันต้องสัมผัสเพอส่งแรงนั้นต่อไม้จิ้มฟัน แต่แรง
               แม่เหล็กไม่จำเป็นต้องสัมผัสระหว่างแม่เหล็กกับสารแม่เหล็ก)
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60