Page 66 - แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป.3 เทอม 2
P. 66

9. ภาระงาน/ชิ้นงาน (Products /Assignments )

                   1. ใบกิจกรรมที่ 5.4 เรื่อง สมบัติของแม่เหล็ก ตอนที่ 2

               10. กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Activities)
                   จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Process) ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้


                     ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)
                     1.นักเรียนนำแม่เหล็ก 2 แท่ง มาวางใกล้กัน จากนั้นนักเรียนร่วมกันสังเกต และร่วมกันตอบคำถาม

               สำคัญกระตุ้นความสนใจ ดังนี้
                      - แม่เหล็กมีแรงกระทำต่อแม่เหล็กด้วยกันอย่างไร
                   (ตัวอย่างคำตอบ แม่เหล็กขั้วต่างกันจะมีแรงดึงดูดกัน ส่วนแม่เหล็กที่ขั้วเหมือนกันจะมีแรงผลักกัน)
                   - ขั้วแม่เหล็กอยู่บริเวณใด
                   (ตัวอย่างคำตอบ บริเวณปลายทั้งสองข้างของแท่งแม่เหล็ก)


                   ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration)
                       1. นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน คละนักเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน
                       2. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอย่างรวมพลังทำกิจกรรมที่ 5.4 เรื่อง สมบัติของแม่เหล็ก ตอนที่ 2 และ

               บันทึกผลการทำกิจกรรม

                     ขั้นอธิบายและลงขอสรุป (Explanation)
                                     ้
                      1. นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการทำกิจกรรมหน้าชั้นเรียน เพื่อเปรียบเทียบและตรวจสอบความ
               ถูกต้อง
                      2.  นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ อภิปราย และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการทำกิจกรรม โดย

               ร่วมกันตอบคำถามหลังทำกิจกรรม ดังนี้
                      -  แม่เหล็กมีแรงกระทำต่อกันอย่างไร
                      (ถ้าวางขั้วเหมือนกันเข้าใกล้กันจะมีแรงผลักต่อกัน ถ้าวางขวต่างกันเข้าใกล้กันจะมีแรงดึงดูดต่อกัน)
                                                                      ั้
                      -   จากผลการทดลองแม่เหล็กมีแรงอะไรบ้าง

                      (แรงดึงดูด และแรงผลัก)
                      -  สรุปผลการทดลองได้ว่าอย่างไร
                      (แม่เหล็กขั้วต่างกันจะมีแรงดึงดูดกัน ส่วนแม่เหล็กขั้วเหมือนกันจะมีแรงผลักกัน)

                     ขั้นขยายความรู้ (Elaboration)

                     1.ครูใช้คำถามว่า ถ้าอักษร N หรือ อักษร S เลือนหายโดยไม่ปรากฏบนแท่งแม่เหล็ก นักเรียนจะมี
               วิธีการตรวจสอบว่าข้างไหนเป็นขั้วเหนือและข้างไหนเป็นขั้วใต้ได้อย่างไร
                 (ตัวอย่างคำตอบ ใช้เส้นด้ายผูกตรงกึ่งกลางแท่งแม่เหล็กแล้วปล่อยให้แกว่งโดยอิสระ ขั้วเหนือ
               ของแม่เหล็กจะชี้ไปทางทิศเหนือ หรืออาจตอบว่า นำไปทดสอบกับแม่เหล็กแท่งอื่นที่ทราบชนิดขั้ว เช่น

                 ถ้านำไปทดสอบแล้วมีแรงผลักกับขั้วเหนือ     แสดงว่าข้างที่นำไปทดสอบเป็นขั้วเหนือ
                 ถ้านำไปทดสอบแล้วมีแรงผลักกับขั้วใต้   แสดงว่าข้างที่นำไปทดสอบเป็นขั้วใต้  หรือ

                 ถ้านำไปทดสอบแล้วมีแรงดึงดูดกับขั้วเหนือ    แสดงว่าข้างที่นำไปทดสอบเป็นขั้วใต้)
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71