Page 217 - คุณค่า คุณภาพ คุณธรรม ถอดบทเรียนงานประชุมวิชาการ
P. 217
B3-204
19th HA National Forum
ในการบริหารจัดการร่วมกับแพทย์เพ่ือให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจรักษาตามระบบบริการท่ีวางไว้ กรณีแพทย์ลากะทันหัน ติดภารกิจด่วน พยาบาล สามารถดาเนินการขอเล่ือนนัดผู้รับบริการ โดยใช้กระบวนการพยาบาลในการคัดแยกผู้ป่วยที่สามารถเลื่อนนัดได้และผู้ป่วยท่ีมีความจาเป็น ต้องได้รับการตรวจรักษา และบริหารจัดการย้ายผู้รับบริการไปให้แพทย์อื่นดูแลแทน
กรณีศึกษา รอโดยไม่รู้สาเหตุ “ไม้เสียบลูกช้ิน”
กรณีไม่เสียบลูกช้ินทิ่มทะลุมือเด็ก ไปตรวจที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง แพทย์สั่งการรักษาโดยการผ่าตัด ผู้ป่วยรอนาน
เกิน 2 ชั่วโมงยังไม่ได้รับการดูแลรักษา ทาให้ญาติไม่พึงพอใจ พาผู้ป่วยเด็กไปรักษาท่ีโรงพยาบาลเอกชน กรณีนี้พยาบาลสามารถให้การดูแลได้ โดยการคดั แยกผปู้ ว่ ยฉกุ เฉนิ ทมี่ ปี ระสทิ ธภิ าพ การดแู ลเบอ้ื งตน้ ทงั้ รา่ งกายและจติ ใจของผปู้ ว่ ยและครอบครวั การเตรยี มผา่ ตดั ทร่ี วดเรว็ การสอื่ สาร ประสานงานท่ีดีระหว่างห้องฉุกเฉินกับห้องผ่าตัด การให้ความสําาคัญต่อการช้ีแจงแก่มารดาหรือญาติถึงเหตุผลท่ีต้องรอ โดยการดูแลเด็กท่ีห้อง ฉุกเฉินในช่วงที่รอต้องเห็นการเปลี่ยนแปลงท่ีดี
กรณีศึกษา ขาดความต่อเนื่องในการดูแลผู้ป่วย “แห่ศพประท้วง”
กรณผี ปู้ ว่ ยหลงั ผา่ ตดั สง่ ตอ่ จากหอ้ งผา่ ตดั ไปยงั หอผปู้ ว่ ยแลว้ เกดิ เสยี ชวี ติ โดยไมค่ าดคดิ กรณนี ตี้ อ้ งคา นงึ ถงึ ขอ้ กฎหมายกบั วสิ ญั ญพี ยาบาล
โดยวิสัญญีพยาบาลต้องปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับแพทย์หรือมีแพทย์กากับอย่างใกล้ชิด และความต่อเนื่องระหว่างการส่งผู้ป่วยกลับจากห้องผ่าตัดและ การรับผู้ป่วยที่หอผู้ป่วยโดยเฉพาะกรณีไม่มีห้องพักฟื้นหลังผ่าตัด ต้องมีมาตรฐานการพยาบาลในการส่งต่อผู้ป่วยกลับจากห้องผ่าตัด ไปยังหอ ผู้ป่วย มีตัวอย่างการปฏิบัติที่ดีของโรงพยาบาลรามาธิบดี ท่ีกาหนดแนวทางปฏิบัติให้พยาบาลห้องผ่าตัด ที่มาส่งผู้ป่วยต้องเป็นผู้ประเมินอาการ ผู้ป่วยร่วมกับพยาบาลหอผู้ป่วยโดยวัดสัญญาณชีพผู้ป่วยที่มาส่งท่ีหอผู้ป่วยเพื่อส่งต่ออาการ และกาหนดข้อห้ามมิให้ผู้ปฏิบัติงานที่ไม่ใช่วิชาชีพ (nonprofessional) เป็นผู้รับผู้ป่วยจากห้องผ่าตัด
3. การจัดการเหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์ ไม่ให้นาไปสู่การฟอ้ งร้องดาเนินคดีการบริการสุขภาพ
มีเป้าหมายหลัก 3 ประการ ได้แก่ ความปลอดภัยของผู้ป่วยและผู้รับบริการ โดยผู้รับบริการต้องได้รับการดูแลตามมาตรฐาน อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการทั้งฝ่ายผู้ป่วยและผู้ให้บริการ และมีระบบบริหารความเสี่ยงที่สร้างความมั่นใจให้แก่บุคลากรและ ความปลอดภัยให้กับผู้ป่วยมากขึ้น การให้ความเป็นธรรมกับคู่กรณี และรักษาความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและครอบครัวกับผู้ให้บริการ โดยการ ติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ตามความต้องการของผู้ป่วยเพ่ือให้เกิดความปลอดภัย (safety) ความมั่นใจและอบอุ่นใจ (security) ด้วยความเห็นใจ และเข้าใจ (sympathy) มีการบอกกล่าวข้อมูล (information) และการปฏิบัติด้วยการให้เกียรติ
ความท้าทาย คือ การสร้างความสมดุลระหว่างการบริหารจัดการความเส่ียงความปลอดภัยผู้ป่วยภายใต้อัตรากาลังที่จากัดบนความ เรียกร้องของผู้รับบริการและข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว และในกรณีท่ีมีความผิดพลาดเกิดขึ้นจนนาไปสู่การร้องเรียนหรือเกิดคดีฟ้องร้องบุคลากร ทางการแพทย์จะทาอย่างไรให้คดียุติลงได้อย่างรวดเร็วโดยยังคงความเป็นธรรมของคู่กรณี น่ีคือสิ่งที่จะทาให้ไปถึงคุณค่า คุณภาพและคุณธรรม และท้ังหมดน้ีล้วนแต่ใช้กระบวนการพยาบาลเข้าไปจัดการได้ทั้งสิ้นแม้ว่าส่วนหนึ่งของปัญหาจะมาจากแพทย์ก็ตาม ถ้าเรานากระบวนการพยาบาล เข้าไปจัดการสิ่งเหล่านี้ก็จะไม่เกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นแล้วก็มีส่วนน้อยมากท่ีจะจัดการไม่ได้
บทส่งท้าย
ข้อค้นพบใหม่ทีไ่ด้จากเรือ่ง
1. การปฏบิ ตั กิ ารพยาบาลโดยใชก้ ระบวนการพยาบาลทดี่ ตี ามมาตรฐานการพยาบาลและตามกฎหมายวชิ าชพี จะชว่ ยสรา้ งคณุ คา่ คณุ ภาพ และคุณธรรมในบริการพยาบาล ช่วยลดข้อขัดแย้งในการปฏิบัติงานระหว่างเพื่อนร่วมงานและระหว่างวิชาชีพ ช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อผู้ป่วย และผู้รับบริการ นาไปสู่การลดข้อร้องเรียนและคดีฟ้องร้องทางการแพทย์ได้
2. องคก์ รทเี่ ปน็ เลศิ ตอ้ งใหค้ วามสา คญั กบั การบรหิ ารความเสยี่ งดว้ ย แมว้ า่ ไมส่ ามารถปอ้ งกนั ความเสยี่ งทกุ อยา่ งได้ แตส่ ามารถทจี่ ะปอ้ งกนั การเกิดซ้าในสถานการณ์เดียวกันได้
ปจัจัยแห่งความสาเร็จ
1. การปฏิบัติการพยาบาลตามกฎหมายวิชาชีพ การรักษามาตรฐานของการประกอบวิชาชีพในระดับท่ีดีท่ีสุด โดยคานึงถึงความปลอดภัยของผู้รับบริการและไม่ปฏิเสธการช่วยเหลือผู้ท่ีอยู่ในระยะอันตราย
2. การใช้กระบวนการพยาบาลที่ดีในการบริหารและบริการพยาบาล
3. การมีระบบริหารความเส่ียงที่ดีของสถานพยาบาล
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) 217