Page 278 - คุณค่า คุณภาพ คุณธรรม ถอดบทเรียนงานประชุมวิชาการ
P. 278
C1-205
19th HA National Forum
โปรแกรมบันทึก Palliative care
เป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเสริมกับ HIS ของโรงพยาบาล (HosXp) และสามารถเชื่อมกับโปรแกรม HHC ได้ ใช้ในการติดตาม monitor ผู้ ป่วยและส่งต่อข้อมูลให้ทีมหมอครอบครัว (family care team) ในการติดตามเยี่ยมบ้าน สังเกตความเป็นอยู่ ติดตามการเสียชีวิต ตลอดจนสารวจ ยาที่ได้รับและเก็บคืนยาที่เหลืออยู่โดยเฉพาะกลุ่มยาเสพติด
ภญ.ธราณี สิริชยานุกูล
นอกจากใช้โปรแกรมแล้วยังมีการใชส้ มุดบันทึกประจําาตัวผู้ป่วย ซึ่งมีที่มาจากปัญหาการรับยาซ้าซ้อน เช่น พบผู้ป่วยมะเร็งลา ไส้ที่มีการ แพร่กระจายไปท่ีกระดูก ได้รับยาจากโรงพยาบาลคือ fentanyl patch, morphine syrup, gabapentin และ meloxicam แต่ 3 สัปดาห์ผู้ป่วยยัง มีอาการปวดมากขึ้นจึงไปพบแพทย์ที่ รพ.สต. ได้รับยา tramadol เพ่ิม แต่อาการไม่ดีข้ึน จึงไปที่รพช. ได้รับการฉีดยาแก้ปวด และได้ยา morphine tab และ diclofenac ทานเพิ่ม จะเห็นว่าผู้ป่วยรายน้ีมีปัญหาการได้รับยาแก้ปวดซ้าซ้อนมาก จึงเกิดแนวคิดในการนาสมุดบันทึกประจาตัวผู้ป่วยมา ใชเ้ พอื่ สอื่ สารระหวา่ งสถานพยาบาลในจงั หวดั (โรงพยาบาลแพร่ รพช.รพ.สต.) และเพอื่ สอ่ื สารระหวา่ งแพทยก์ บั ผปู้ ว่ ย ในสมดุ จะมบี นั ทกึ ประวตั กิ าร ได้รับยา และให้ผู้ป่วยประเมินอาการปวดด้วยตนเองเวลารับประทานยาแก้ปวดท้ังที่ควบคุมอาการปวดทั้งวันและช่วง breakthrough pain ว่ามี อาการปวดอยู่ในระดับใด (pain score) มีอาการข้างเคียงจากการใช้ยาอย่างไร และตาแหน่งที่มีอาการปวด เพราะหลายครั้งพบอาการปวดที่ไม่ สัมพันธ์กับตาแหน่งรอยโรคเดิม
ที่ OPD จะมีแบบประเมินเฉพาะสาหรับประเมินความเจ็บปวด ซ่ึงประกอบด้วยหัวข้อต่างๆ ได้แก่ ปัญหาของผู้ป่วย การประเมิน overall (PPS score, pain score, nutrition) drug reconciliation และ pain characteristic เภสัชกรจะประเมินร่วมกับพยาบาล และสอบถามปัญหา การรับประทานยา ซ่ึงอาจพบปัญหาท่ีเก่ียวข้อง ซึ่งช่วยแพทย์และทีมค้นหาปัญหาของผู้ป่วย
การจัดการความเจ็บปวด (pain management)
เภสัชกรมีบทบาทเรื่อง pain assessment ท้ังเรื่องประสิทธิภาพของการใช้ยา (monitor efficacy) ผลข้างเคียงจากการใช้ยา (side effect) แนะนาการปรับขนาดยา (dose adjustment) ใน กลุ่มยาopioid, NSAIDs & COXIB, Adjuvant รวมถึงการแนะนาการใช้ยาร่วมกับทีม ซึ่งกระบวนการการทางานจะเริ่มต้นตั้งแต่ IPD, OPD จนถึง HHC ซึ่งการดูแลต่อเน่ืองท่ีบ้าน มีการส่งข้อมูลให้โรงพยาบาลเครือข่าย และเครือข่าย เภสชั กรในการเยยี่ มบา้ นของรพช.เพอื่ ตดิ ตามประเมนิ การใชย้ าแกป้ วดและผลขา้ งเคยี ง นอกจากนยี้ งั มบี ทบาทในการบรหิ ารจดั การยาตงั้ แตค่ ดั เลอื ก จดั ซอื้ เกบ็ รกั ษา สงั่ ใชย้ า จา่ ยยา บรหิ ารยา ตดิ ตามการใชย้ า จนถงึ การรายงานและสารสนเทศทเ่ี กยี่ วขอ้ ง โดยเฉพาะการเตรยี มยา morphine syrup เป็นบทบาทที่ทาในระยะเริ่มต้น (พ.ศ. 2551-2552)
278 สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)