Page 424 - คุณค่า คุณภาพ คุณธรรม ถอดบทเรียนงานประชุมวิชาการ
P. 424
B2-105
19th HA National Forum
ศึกษาย้อนหลังในกลุ่มผู้ป่วยที่ Fall ทั้งหมดในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เปรียบเทียบกลุ่มควบคุมที่ไม่มีfall อย่างละ 200 ราย มาศึกษา และนาเครื่องมือ ที่ประเมิน fallมาใช้ 4 เครื่องมือ (STRATIFY, JHFRAT, Morse Fall Scale, Hendrich II Model) ซึ่งจะมีปัจจัยท่ีเหมือนและแตกต่างกันท้ังหมด 21 ปัจจัย (ในส่วนของโรงพยาบาลเองใช้ Modified Hendrich II Model) นามาศึกษาวิเคราะห์ตัวแปรและหา ROC curve of risk score and fall event พบว่า
Hendrich II Model ให้ค่า ROC curve 86.69% (ค่ายิ่งสูง ย่ิงนามาใช้ทานาย fall ยิ่งดี) Hendrich II Model มี 7 ปัจจัยมีความสัมพันธ์ต่อการเกิด fall อย่างมีนัยสาคัญ
จากปัจจัย non-clinical part ทัง้ หมด 8 ปัจจัย พบว่า มี 5 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางสถิติ อย่างมีนัยสาคัญ ได้แก่
1. ผู้ป่วยที่มีการเดินทางโดยเครื่องบินและมานอนโรงพยาบาลเลย โดยเฉพาะกลุ่มท่ีมีการเดินทางภายใน 6 วัน มีอุบัติการณ์มากกว่า กลุ่มที่นอนหลังจากนั้น 6 วัน อย่างมีนัยสาคัญ
2. ผู้ป่วยท่ีได้รับการผ่าตัดร่วมกับได้รับการ sedation ในหลายงานวิจัยพบว่ากลุ่มนี้มีการเกิด fall สูง แต่ที่โรงพยาบาลพบว่าไม่เกิด fall เลย ซ่ึงสะท้อนว่า เรามีแนวทางการดูแลผู้ป่วย post sedation มีการติดตามและดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดได้จริง ส่วนผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการ sedation พบการเกิด fall มากกว่า
3. ผู้ป่วยเก่าเกิด fall มากกว่าผู้ป่วยใหม่ วิเคราะห์ว่าผู้ป่วยเก่าเกิดความคุ้นเคยกับโรงพยาบาล อาจให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนในทุกครั้งท่ีเข้า รับการรักษา ซึ่งผู้ป่วยใหม่มักจะให้ข้อมูลต่างๆ มากกว่า
4. ผู้ป่วยท่ีไม่มีญาติ fall มากกว่าคนที่มีญาติ สอดคล้องกับหลายงานวิจัย ซึ่งญาติมีส่วนช่วยในการติดตามและเฝ้าระวังมากกว่า
5. ผู้ป่วยท่ีต้องการใช้ล่ามภาษาในการสื่อสาร fall มากกว่าผู้ป่วยที่ไม่ต้องการล่ามภาษา ซ่ึงสอดคล้องกับการป้องกัน fall ที่สาคัญ คือ การให้ข้อมูลในส่วนเก่ียวข้อง ผู้ป่วยและญาติต้องมีความเข้าใจจริง
6. และเมื่อนาปัจจัย non-clinical part มาเพิ่มใน Hendrich II Model พบว่าค่า ROC เพ่ิมขึ้น ทาให้สามารถทานายความเส่ียงในการ เกิด Fall ได้เป็นอย่างดี เช่น admission on the arrival day vs within 6 days after arrival (91.47%)
บทเรียนท่ีได้รับจากการศึกษา : scoring
ที่อยู่ในแต่ละเครื่องมือมักมีข้อจากัด มีปัจจัยทั้งส่วนทางคลินิกและนอกเหนือจากคลินิกที่สามารถนามาทานายโอกาสการเกิด fall ได้ ซึ่งสรุปว่าในส่วน Hendrich II Model ก็สามารถนามาใช้และจัดกลุ่มผู้ป่วยได้ จากนั้นมีการปรับปรุง BI Fall Risk Assessment Form ตามหลัก human engineering factor ในการพัฒนา และ visual management ในการปรับฟอร์ม ร่วมกับพูดคุยกับพยาบาลหน้างานแล้วค่อยๆ ปรับช่วย กันพัฒนา ตามวงล้อ PDSA ใช้เวลาเกือบ 6 เดือน หลังจากได้เครื่องมือจึงนาไปศึกษานาร่อง (pilot unit) ผลการทดสอบค่อนข้างดีจึงขยายผลการ ใช้งานให้ครบ 100% (implement) ร่วมกับนาฟอร์มใส่ลงในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (e-form) ซ่ึงสามารถใช้กับ iPad ได้ มีส่วนช่วยในการเตือน กระบวนการทางานไปด้วย มีการสอนการตั้งคาถามให้กับผู้ใช้งาน
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) 424