Page 19 - E-BOOKวิชาทักษะการเรียนรู้ ทร31001 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
P. 19
E-BOOK
18
แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการความรู้
การจัดการ (Management) หมายถึง กระบวนการในการเข้าถึง
ความรู้ และการถ่ายทอด ความรู้ที่ต้องด าเนินการร่วมกันกับผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งอาจ
เริ่มต้นจากการบ่งชี้ความรู้ที่ต้องการใช้การสร้าง และแสวงหาความรู้ การประมวล
เพื่อกลั่นกรองความรู้ การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ การสร้างช่องทางเพื่อการ
สื่อสารกับผู้เกี่ยวข้อง การแลกเปลี่ยนความรู้ การจัดการสมัยใหม่กระบวนการทาง
ปัญญา เป็นสิ่งส าคัญในการคิด ตัดสินใจ และส่งผลให้เกิดการกระท า การจัดการจึง
เน้นไปที่การปฏิบัติ
ความรู้ (Knowledge) หมายถึง ความรู้ที่ควบคู่กับการปฏิบัติ ซึ่งใน
การปฏิบัติจ าเป็น ต้องใช้ความรู้ที่หลากหลายสาขาวิชามาเชื่อมโยงบูรณาการเพื่อการ
คิดและตัดสินใจ และลงมือปฏิบัติ จุดก าเนิดของความรู้คือสมองของคน เป็นความรู้ที่
ฝังลึกอยู่ในสมอง ชี้แจงออกมาเป็นถ้อยค าหรือ ตัวอักษรได้ยาก ความรู้นั้นเมื่อ
น าไปใช้จะไม่หมดไป แต่จะยิ่งเกิดความรู้เพิ่มพูนมากขึ้นอยู่ในสมองของผู้ปฏิบัติ
การจัดการความรู้ (Knowledge Management) หมายถึง การจัดการ
กับความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่ในตัวคนและความรู้เด่นชัด น ามา
แบ่งปันให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและครอบครัว ด้วยการผสมผสาน
ความสามารถของคนเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสม มีเป้าหมายเพื่อการ
พัฒนางาน พัฒนาคน และพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
หลักการของการจัดการความรู้ จึงมุ่งเน้นไปที่การจัดการที่มี
ประสิทธิภาพ เพราะการจัดการ ความรู้เป็นเครื่องมือระดมความรู้ในคน
และความรู้ในกระดาษทั้งที่เป็นความรู้จากภายนอก และความรู้ของกลุ่ม
ผู้ร่วมงาน เอามาใช้และยกระดับความรู้ของบุคคล ของผู้ร่วมงานและของ
องค์กร ท าให้งานมีคุณภาพสูงขึ้น คนเป็นบุคคลเรียนรู้และองค์กรเป็น
องค์กรแห่งการเรียนรู้ การจัดการความรู้ จึงเป็นทักษะสิบส่วน เป็นความรู้
เชิงทฤษฏีเพียงส่วนเดียว การจัดการความรู้จึงอยู่ในลักษณะ “ไม่ท า-ไม่รู้”
โดยครูวัชรีพรรณ จันทร์หอม