Page 13 - ใบความรู้หน่วยที่ 2
P. 13
เครื่องเลื่อยจะกดใบเลื่อยจะกดใบเลื่อยให้ตัดเฉือนชิ้นงาน หลักจากประกอบยึดใบเลื่อยแล้วให้ขันสกรูยึดใบ
ี
เลื่อยให้ตึงพอดี การตรวจสอบอาจกระทาได้โดยใช้ค้อนเคาะที่ใบเลื่อยเบาๆ ซึ่งจะมเสียงดังกังวาน
2.3.7 การเลื่อยชิ้นงานด้วยเครื่องเลื่อยกลแบบชัก
้
2.3.7.1 ตรวจสอบความพร้อมของเลื่อยกลแบบชัก เช่น ตรวจสอบระบบไฟฟา
ระบบน้ำหล่อเย็น ความตึงใบเลื่อย ทิศทางของใบเลื่อย
2.3.7.2 ยกโครงขึ้น นำชิ้นงานที่ต้องการตัดวางบนเครื่องเลื่อย ปรับระยะความยาวของชิ้นงาน
ตามตำแหน่งที่ต้องการตัด แล้วทำการขันยึดชิ้นงานให้แน่นและให้ได้ระดับ
ื่
2.3.7.3 เปิดสวิทช์ให้เครื่องทำงาน แล้วนำโครงเลื่อยลงค่อยๆตัดชิ้นงาน เพอป้องกันไม่ให้ใบ
เลื่อยกระแทกกับชิ้นงานเพราะจะทำให้ใบเลื่อยหักได้
2.3.7.4 ขณะตัดชิ้นงานไม่ให้ล้อของเครื่องเลื่อยเคลื่อนที่ไปมา
2.3.7.5 เมื่อตัดชิ้นงานขาดแล้วให้ยกโครงเลื่อยขึ้น เพื่อตัดชิ้นงานชิ้นต่อไป
2.3.8 ความปลอดภัยในการใช้เครื่องเลื่อยกลแบบชัก
2.3.8.1 ก่อนใช้เครื่องควรตรวจสภาพความพร้อมของเครื่องเลื่อยกลแบบชักทุกครั้ง
2.3.8.2 ต้องจับชิ้นงานให้ถูกต้องและมั่นคงกอนทำการเลื่อย
่
2.3.8.3 ก่อนเปิดสวิตซ์เดินเครื่อง จะต้องยกใบเลื่อยให้ห่างจากชิ้นงานประมาณ 25 ม.ม.
2.3.8.4 วัสดุชิ้นงานประเภทเหล็กหล่อ ทองเหลือง ทองแดงและอะลูมิเนียม
ควรหล่อเย็น
2.3.8.5 ขณะเครื่องเลื่อยกลแบบชักกำลังตัดชิ้นงาน ห้ามหมุนถอยปากกา
ออกโดยเด็ดขาด
ุ
2.3.8.6 ในการจับชิ้นงานที่มีรอยเยินเป็นคม ต้องสวมถงมือป้องการเกิดอุบัติเหตุ
2.3.9 การบำรุงรักษาเครื่องเลื่อยกลแบบชัก
2.3.9.1 ตรวจสอบสภาพความพร้อมของเครื่องเลื่อยทั้งก่อนใช้และหลังใช้งาน หากมีอุปกรณ์
เกิดความชำรุด ให้รีบดำเนินการซ่อมทันที
2.3.9.2 ทำความสะอาดเครื่องเลื่อยทุกครั้งหลังใช้งาน
2.3.9.3 หยอดน้ำหล่อลื่นในส่วนที่มีการเคลื่อนที่ทุกครั้ง เพื่อลดการสึกหรอของเลื่อยกล
2.3.9.4 ชโลมน้ำมันทุกครั้งหลังการใช้งานเพื่อป้องกันสนิมและยืดอายุการใช้งาน