Page 11 - ใบความรู้หน่วยที่ 2
P. 11
2.2.4 หัวเครื่อง (Head) เป็นส่วนที่ติดตั้งระบบส่งกำลังและสามารถปรับตั้งความเร็วรอบระดับต่าง
ๆ เพื่อส่งกาลังไปยังแกนหมุน
2.2.5 เพลาหมุน (Spindle) เป็นเพลาอยู่ในแนวดิ่ง ปลายแกนหมุนจะเป็นรูเรียว ไว้สำหรับใส่หัวจับ
ดอกสว่าน หรือใส่ดอกสว่านก้านเรียวโดยตรงก็ได้
2.2.6 คันป้อนเจาะ (Hand Feed) เป็นคันโยกใช้บังคับให้แกนหมุนเคลื่อนที่ขึ้นลงตามแนวดิ่ง เพื่อ
กดป้อนให้ดอกสว่านตัดเฉือนวัสดุงานเป็นรู
2.3 เครื่องเลื่อยกล
เครื่องเลื่อยกลเป็นเครื่องมือกลพื้นฐานที่มีประโยชน์ มีใช้กันทั่วไป การที่จะนำวัสดุไปทำการ
ขึ้นรูปจำเป็นต้องมีการตัดชิ้นงานให้ได้ขนาด ทั้งนี้เครื่องเลื่อยกลมีหลายชนิดเช่น เครื่องเลื่อยวงเดือน เครื่อง
เลื่อยแบบชัก เครื่องเลื่อยสายพานแนวนอน เครื่องเลื่อยสายพานแนวตั้ง ในหน่วยนี้ขอกล่าวถึง เครื่องสายพาน
แบบชัก เนื่องจากใช้ในการเรียนวิชางานฝึกฝีมือ และมีอยู่ในสถานศึกษาทั่วไป
2.3.1 เครื่องเลื่อยกลแบบชัก (Power Hack Saw) เป็นเครื่องเลื่อยที่มีความจำเป็นในโรงงาน หรือ
โรงปฏิบัติงานในสถานศึกษามีไว้สำหรับตัดชิ้นงานทั่วไป มีคุณสมบัติคือ ใช้ง่าย สะดวก และประหยัดเวลา ใน
การทำงาน
2.3.2 หลักการทำงานของเลื่อยกลแบบชัก มีหลักการทำงานแบบชักไปช้างหน้าและถอยหลังกลับ
จะได้จังหวะงานเดียว ลักษณะการทำงานคล้ายเลื่อยมือ คือมีจังหวะที่ใบเลื่อยกินงานช่วงชักเดินหน้า โดยใช้
มอเตอร์ขับส่งกำลังไปยังระบบเฟือง เหมาะสำหรับตัดโลหะที่มีความโตตั้งแต่ 20 มม. ขึ้นไป
2.3.3 หน้าที่และ ส่วนประกอบเครื่องเลื่อยกลแบบชัก
โครงเลื่อย ชุดป้อนตัด
ฐานเครื่อง ระบบส่งกำลัง
เจาะ
แขนตั้งระยะ ปากกาจับงาน
รูปที่ 2.25 แสดงส่วนประกอบของเครื่องเลื่อยกลแบบชัก
(ที่มา : http://www.hero.co.th/products/details/images/hr_16.jpg)
2.3.3.1 โครงเลื่อย (Saw Frame) ทำจากเหล็กหล่อและเหล็กเหนียว มีหน้าที่สำหรับยึดใส่ใบ
เลื่อยมีลักษณะเหมือนตัวยูคว่ำและจะเคลื่อนที่ไป – มา ในร่องหางเหยี่ยวโดยการส่งกำลังจากล้อเฟือง
2.3.3.2 ฐานเครื่อง (Base) ทำมาจากเหล็กหล่อหรือเหล็กเหนียว มีหน้าที่รองรับส่วนต่างๆของ
เครื่องเลื่อยกลแบบชักทั้งหมด
2.3.3.1 ระบบส่งกำลัง (Drive System) ของเครื่องเลื่อยกลแบบชักจะใช้มอเตอร์ทำหน้าที่เป็น
้
ต้นกำลังขับโดยใช้กระแสไฟฟา 220 โวลต์หรือ 380 โวลต์