Page 12 - ใบความรู้หน่วยที่ 2
P. 12
2.3.3.4. แขนตั้งระยะ ทำหน้าที่เป็นตัวตั้งตำแหน่งหรือตั้งระยะความยาวในการตัดชิ้นงาน
เพื่อให้ชิ้นงานชิ้นต่อไปมีขนาดเท่ากัน
2.3.3.5 ปากกาจับชิ้นงาน (Vise) ของเครื่องเลื่อยกลแบบชัก แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ปากกา
ด้านคงที่ซึ่งไม่สามารถเลื่อนไปมาได้และปากกาด้านเคลื่อนที่ได้ นอกจากนี้ปากกาของเครื่องเลื่อยกลแบบชักยัง
ื่
สามารถจับชิ้นงานเลื่อยตรง หรือปรับเอียงเพอตัดเฉียงเป็นมุมต่างๆ ได้
2.3.4 ใบเลื่อยกลแบบชัก(Saw Blade) ใบเลื่อยกลจะผลิตจากเหล็กรอบสูง ซึ่งมีความแข็งแต่เปราะ
ซึ่งความยาวของใบเลื่อยจะวัดจากระยะห่างจุดศูนย์กลางของรูใบเลื่อย โดยมีความยาว
350 มม.
ความยาวของใบเลื่อย
รูปที่ 2.26 แสดงการบอกความยาวใบเลื่อยกลแบบชัก
(ที่มา http://cn.lnwfile.com/_/cn/_raw/95/3z/yx.jpg)
2.3.5 การเลือกใช้ใบเลื่อยให้เหมาะสมกับวัสดุชิ้นงาน
จำนวนฟัน/นิ้ว วัสดุที่ใช้เลื่อย
14, 16,18 วัสดุอ่อน เช่น ดีบุกทองแดงตะกั่วอะลูมิเนียมพลาสติกเหล็กเหนียว
22,24 วัสดุแข็งปานกลาง เช่น เหล็กหล่อ เหล็กโครงสร้างทองเหลืองเป็นต้น
32 วัสดุแข็งมากเช่น เหล็กทำเครื่องมือเหล็กกล้าเจือเป็นต้น
ตารางที่ 2.1 แสดงใบเลื่อยให้เหมาะสมกับวัสดุชิ้นงาน
2.3.6 หลักการปฏิบัติงานด้วยเครื่องเลื่อยกลแบบชัก
2.3.6.1 การจับยึด
(1) การจับชิ้นงานที่มีรูปทรงที่แตกต่างกันจะมีวิธีการจับยึดที่แตกต่างกัน ซึ่งการใช้ปากกา
จับชิ้นงานนั้น ผู้ปฏิบัติงานต้องคำนึงถึงรูปร่างหน้าตัดของชิ้นงานที่ตัดเพื่อให้จับชิ้นงานได้มั่นคง เพราะถ้าหาก
จับชิ้นงานไม่แน่นพอแล้ว ชิ้นงานหลุดหรือดิ้นเป็นสาเหตุให้เกิดอันตรายและทำให้ใบเลื่อยหักได้
(2) การจับชิ้นงานที่สั้นกว่าปากของปากกา ให้ใช้วัสดุที่มีความกว้างเท่ากับชิ้นงานเสริมเข้า
อีกด้านของปากกาจับชิ้นงาน ซึ่งจะทำให้การจับชิ้นงานได้แน่นหนาและมั่นคง
(3) การตัดชิ้นงานที่มีความยาวมาก ๆ ให้ใช้ขาตั้งรองรับชิ้นงานเพื่อให้ได้ระดับเดียวกัน
(4) การเริ่มต้นการเลื่อยชิ้นงาน ให้ใช้บรรทัดเหล็กในการตั้งระยะของการตัดโดยวัดจาก
ปลายสุดชิ้นงานถึงใบเลื่อยโดยความยาวของการตัดจะต้องเผื่อขนาดของคลองเลื่อยด้วย
(5) การตัดชิ้นงานจำนวนมากและมีความยาวเท่ากัน ให้ใช้อุปกรณ์ตั้งระยะการตัด โดยใช้
ชิ้นงานที่ตัดได้ขนาดแล้วตั้งขนาดและปรับแขนตั้งระยะให้ชนพอดีกับผิวหน้าชิ้นงาน จึงขันสกรูเพื่อล็อก
ให้แน่น
2.3.6.2 การจับยึดใบเลื่อยกล
การจับยึดใบเลื่อยกลเข้ากับโครงของเครื่องเลื่อย ผู้ปฏิบัติงานจะต้องทราบทิศทางการเดินตัด
ของเครื่องเลื่อยกลแบบชักกอน กล่าวคือ ในการจับใบเลื่อยที่ถูกต้องนั้นจะต้องให้ฟันเลื่อยเอียงไปในทิศทางที่
่