Page 3 - ใบความรู้ หน่วย 3
P. 3

ใบความรู้หน่วยที่  3                สัปดาห์ที่  2

                                   ิ
                               ชื่อวชา     งานฝึกฝีมือ 1                           สอนครั้งที่ 1
                               ชื่อหน่วย   งานตะไบ                                 เวลาสอน 120  นาที

                               ชื่อเรื่อง     งานตะไบ                              ชั่วโมงรวม  6 ชั่วโมง
                     การทำงานทางด้านช่างอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นงานด้านการผลิต งานประกอบ หรือ งานซ่อมบำรุง

               ในการทำงานเหล่านี้บ่อยครั้งที่เราจำเป็นต้องทำการตกแต่งชิ้นงานโดนอาศัยตะไบ เช่นการใช้ตะไบตกแต่งผิว
               งานหล่อให้มีความเรียบและขจัดครีบโลหะที่เกิดจากการหล่อ หรือ การใช้ตะไบปรับขนาดของชิ้นงานที่ต้อง
               ประกอบเข้าด้วยกัน ทั้งนี้ เนื่องจากบางครั้งอาจมีรอยเยินบนชิ้นงานที่ทำให้ไม่สามารถระกอบเข้าด้วยกันได้
               เป็นต้น ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่างานตะไบเป็นการทำงานที่มีความสำคัญมากต่องานช่าง
               1. ส่วนประกอบของตะไบ


                                          1.4 ขอบตะไบ             1.5 หน้าตะไบ
                                                                                       1.1 กั่นตะไบ


                 1.2 ปลายตะไบ


                                                                                        1.3 โคนตะไบ
                                                1.6 ความยาวตะไบ

                                       รูปที่ 3.1 แสดงส่วนประกอบของตะไบ
                 1.1  กั่นตะไบ (Tang) เป็นส่วนที่มีลักษณะปลายแหลมของตะไบ กั่นจะยึดอยู่ภายในด้านตะไบ

               ในขณะใช้งาน
                 1.2  ปลายตะไบ (Point) เป็นส่วนปลายของตะไบที่อยู่คนละด้านกับกั่นตะไบ
                 1.3  โคนตะไบ (Heel) เป็นส่วนที่อยู่ส่วนปลายด้านล่างของผิวหน้าตะไบติดกับกั่นตะไบ ที่บริเวณท้าย

               ตะไบจะไม่มฟันตะไบอยู่
                          ี
                 1.4  ขอบตะไบ (Edge) ขอบตะไบมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ แบบที่มีคมตัด และแบบที่ไม่มีคมตัด
                 1.5  หน้าตะไบ (Face) เป็นส่วนที่มีฟันตะไบเรียงอยู่เป็นแถว หน้าตะไบจะสัมผัสกับผิวของชิ้นงานในขณะ
               ตะไบ

                 1.6  ความยาวตะไบ ( Lenght) โดยความยาวจะวัดจากปลายตะไบจนถึง โคนตะไบ ปกติจะเริ่มตั้งแต่
                4 นิ้ว จนถึง 12 นิ้ว
               2. คมตัดของตะไบ
                   คมตัดของตะไบที่ใช้กันอยู่ทั่วไปสามารถแบ่งออกได้ 4 ลักษณะดังนี้

                 2.1  คมตัดเดี่ยว  (Single cut Files) ตะไบที่มีลักษณะของฟันเป็นแบบลายตัดเดี่ยว
               จะมีฟันตัดเรียงแนวเดียวทำมุม 65-85 องศา กับขอบตะไบ ลักษณะฟันตะไบนี้จะคล้ายกับคมตัดของสกัด
   1   2   3   4   5   6   7   8